Page 120 - kpiebook65010
P. 120
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
จากการศึกษาพบว่าปัจจุบัน (หลังปี 2010 เป็นต้นมา) ไม่มีการกำหนดแนวทางและวิธีการ
วิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมภายใต้แนวทางของ EU และ OECD อย่างเป็นเอกเทศ (stand-
alone assessment) แต่ถือว่าการวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการวิเคราะห์
ผลกระทบหลาย ๆ ด้านในภาพรวม โดยกำหนดแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทั้ง
ในเชิงหลักการและในรายละเอียดไว้และสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางพัฒนาระบบการวิเคราะห์
ผลกระทบของไทยได้ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดตัวอย่างผลกระทบแต่ละด้านที่อาจถือเป็น
การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมได้ เช่น ด้านความเท่าเทียมทางเพศ ด้านสิ่งแวดล้อมและ
ด้านสุขภาพ เป็นต้น โดยเอกสารของ EU บางฉบับ โดยเฉพาะ Better Regulation Guidelines
(2017) และเอกสารประกอบซึ่งกำหนดรายละเอียด (Better Regulation Toolbox)
กำหนดแนวทางและวิธีการในการวิเคราะห์ผลกระทบเฉพาะด้านเหล่านั้นไว้ในเชิงให้คำแนะนำ
ซึ่งการทำความเข้าใจแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบที่จะทำให้เห็นภาพชัดเจนและ
เป็นตัวอย่างของการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมอาจพิจารณาได้จากการวิเคราะห์ผลกระทบ
เฉพาะด้านเหล่านั้นได้
แนวทางการวิเคราะห์ฯ ที่มีการใช้ใน EU และแนวทางตามคำแนะนำของ OECD มีลักษณะ
โครงสร้างและวิธีคิดในทำนองเดียวกัน แต่แนวทางของ EU ที่ปรากฏในเอกสารต่าง ๆ
ของ European Commission มีความเฉพาะเจาะจงกว่าในแง่ที่มุ่งนำมาใช้วิเคราะห์ผลกระทบ
ในการออกนโยบายและตรากฎหมายของ EU เอง ในขณะที่ของกลุ่ม OECD วางหลักการอย่าง
หลวม ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่าง ๆ นำแนวคิดไปปรับใช้ตามความเหมาะสมในบริบท
ประเทศของตน โดยจะนำเสนอรายละเอียดข้อค้นพบตามแนวทางของ EU ในเชิงเปรียบเทียบ
อีกครั้งเพื่อให้เห็นความเหมือนและความแตกต่างระหว่างแนวทางดำเนินการของไทยและ
ประเทศอื่น ๆ ในบทที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า
108