Page 124 - kpiebook65010
P. 124
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
4.1. สหราชอาณาจักร
4.1.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทำ RIA
สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญอย่างมากกับการกำหนดนโยบาย
โดยอาศัยหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based policy making) โดยก่อนที่จะมีการออก
กฎหมายหรือข้อบังคับในเรื่องใด ๆ จะต้องมีการจัดทำรายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบของ
การออกกฎหมาย (RIA) ซึ่งรายงานดังกล่าวจะต้องมีการระบุถึงปัญหาที่เป็นประเด็นในการพิจารณา
และต้องมีการประเมินถึงมาตรการที่ใช้แก้ปัญหานั้นไม่ว่าจะเป็นมาตรการในเชิงออกกฎระเบียบ
และมาตรการอื่นที่ไม่ใช่การออกกฎระเบียบด้วย ในขั้นตอนเหล่านี้บรรดาผู้มีส่วนได้เสียจะได้รับ
โอกาสให้สามารถให้ข้อคิดเห็นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและข้อสมมติฐานที่ใช้สนับสนุนบทวิเคราะห์
อย่างหนึ่งอย่างใดได้ และในขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำ RIA กำหนดว่าต้องมีการให้รายละเอียด
เกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการที่คาดว่าจะนำมาใช้ (preferred
option) นอกจากนี้ นโยบายหลายประการยังถูกนำมาใช้เพื่อลดจำนวนของกฎระเบียบให้น้อยลง
ภายใต้แผนการดำเนินการที่เรียกว่า “Red Tape Challenge” ซึ่งเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2011
โดยรัฐบาลสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในภาคธุรกิจไปได้กว่า 1 หมื่นล้านปอนด์จากการดำเนินสร้าง
ระบบการบริหาจัดการเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบแบบ “One-in, Two-out” ซึ่งได้ดำเนินการ
174
มาตั้งแต่ปี 2013
รัฐบาลยังคงมุ่งเน้นการสร้างระบบว่าด้วยการออกกฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ ซึ่งหน่วยงานในสังกัดของรัฐบาลจะต้องมี
การจัดทำรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายหรือกฎระเบียบที่ได้บังคับใช้ไป ตามแนวทางที่
กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติธุรกิจขนาดเล็ก การประกอบวิสาหกิจและการจ้างงาน 2015 (Small
Business, Enterprise and Employment Act 2015 (SBEE)) นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ดำเนินการ
ตามแผนงานที่เกี่ยวข้อง 2 แผนงานได้แก่ แผนงาน Business Impact Target และการทบทวน
แผนงานในการขจัดกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น (Cutting Red Tape) เพื่อให้เกิดผลในแง่ของการลด
ต้นทุนอันเกิดจากกฎระเบียบให้แก่บรรดาภาคธุรกิจด้วย 175
174 OECD, OECD Regulatory Policy Outlook 2015 (OECD Publishing 2015) 208.
175 OECD, OECD Regulatory Policy Outlook 2018 (OECD Publishing 2018) 238-239.
สถาบันพระปกเกล้า
112