Page 126 - kpiebook65010
P. 126
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
179
ภาคประชาสังคมต้องทำการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมด้วย และ
ท้ายที่สุด RPC ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ RIA ที่ทำขึ้นนั้น ยังได้มีการรวบรวม
180
แนวทางและกรณีศึกษาที่น่าสนใจไว้เป็นข้อมูลให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้าถึงได้อีกด้วย ทั้งนี้
รายงานการศึกษานี้จะได้นำเอาคำอธิบายที่ปรากฏใน Green Book มาใช้เป็นข้อมูลหลัก เนื่องจาก
มีรายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมมากที่สุด
4.1.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบในภาพรวม
หากพิจารณาเอกสารหลายฉบับที่เผยแพร่โดยหน่วยงานต่าง ๆ ของสหราชอาณาจักร
จะพบว่าปัจจุบันการแบ่งขั้นตอนการทำ RIA ยังคงไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเสียทีเดียวโดยขึ้นอยู่
กับว่าเอกสารฉบับใดมุ่งจะกำหนดรายละเอียดการทำ RIA ไว้ละเอียดหรืออย่างย่นย่อมากน้อย
เพียงใด ในรายงานการศึกษานี้จะนำเสนอตัวอย่างขั้นตอนการทำ RIA ที่ปรากฏใน Guide to
Making Legislation ซึ่งมีขั้นตอนที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกับการทำ RIA ของไทยและ
181
ของ EU Commission โดยมีขั้นตอนในภาพรวมดังนี้
๏ ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหา (identify problems)
๏ ขั้นตอนที่ 2 ระบุวัตถุประสงค์ในการออกกฎ (specify desired objectives)
๏ ขั้นตอนที่ 3 ระบุทางเลือกที่เป็นไปได้ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ (identify
viable options that achieve the objectives)
๏ ขั้นตอนที่ 4 ระบุผลกระทบ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม (identify
the impacts (e.g. economic, social, and environmental))
๏ ขั้นตอนที่ 5 ประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของแต่ละทางเลือก (value the
costs and benefits of each option)
179 Cabinet Office, ‘Guide to Making Legislation’ (2017) 125<https://assets.publishing.
service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/645652/Guide_to_
Making_Legislation_Jul_2017.pdf> เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.
180 Regulatory Policy Committee, ‘RPC Case Histories – Primary Legislation IAs’ (2019)
<www.gov.uk/government/publications/rpc-case-histories-primary-legislation-ias-august-2019> เข้าถึง
เมื่อ 9 กันยายน 2564.
181 Guide to Making Legislation (n 6) paragraph 14.2.
สถาบันพระปกเกล้า
114