Page 129 - kpiebook65010
P. 129
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
การพิจารณาแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบนั้น หากพิจารณาแนวทางในคู่มือ Green
Book จะพบขั้นตอนและแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบของการดำเนินการต่าง ๆ ไว้ ดังนี้ 184
(1) การกำหนดข้อมูลในเชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ การวิเคราะห์ถึงสถานะในปัจจุบัน และ
การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ตามหลัก SMART objectives อันได้แก่ ความเฉพาะเจาะจง
(Specific) การวัดค่าได้ (Measurable ) บรรลุผลได้ (Achievable) อยู่บนฐานของความเป็นจริง
(Realistic) มีกำหนดเวลา (Time-limited) 185
ความเฉพาะเจาะจง การวัดค่าได้ บรรลุผลได้
(Specific) (Measurable) (Achievable)
มีกำหนดเวลา อยู่บนฐานของความเป็นจริง
(Time-limited) (Realistic)
ภาพ 7 การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ตามหลัก SMART objectives
(2) การวิเคราะห์ทางเลือกอย่างกว้าง (longlist analysis) เป็นขั้นตอนที่จะพิจารณา
ว่าใช้วิธีการใดเพื่อให้เกิดผลดังเป้าหมายที่ตั้งไว้มากที่สุด โดยพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้จาก
กลไกที่มีในระบบงานของรัฐเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้กำหนดแนวทางจากกลไกที่ไม่เคยถูกนำมา
ใช้อย่างจริงจัง ซึ่งในชั้นนี้จะเป็นการพิจารณาความเป็นไปได้ทุกประการให้มากที่สุด ก่อนจะนำไปสู่
การจำกัดทางเลือก (shortlist) ต่อไป โดยจะมีการนำเอาประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งหลายมาพิจารณา
ประกอบกัน เพื่อพัฒนาไปสู่การกำหนดทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนซึ่งคุ้มค่าต่อต้นทุนที่ใช้จ่าย
ไปมากที่สุด
(3) การประเมินทางเลือกที่ถูกกำหนดไว้ (shortlist appraisal) การดำเนินการใน
ชั้นนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการประเมินผลกระทบ โดยจะนำเอาต้นทุนและผลตอบแทนซึ่งประมาณ
การ ว่าจะเกิดขึ้นมาพิจารณาเพื่อดูส่วนต่าง การวิเคราะห์ในขั้นนี้จะต้องเชื่อมโยงระหว่างมิติด้าน
ยุทธศาสตร์ การพาณิชย์ การเงิน และการบริหารจัดการมาประกอบกันทั้งหมด โดยนำเอาวิธีการ
184 Green Book (n 4) paragraph 2.6.
185 Green Book (n 4) paragraphs 3.26 and 3.40.
สถาบันพระปกเกล้า
117