Page 130 - kpiebook65010
P. 130
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
วิเคราะห์แบบ Social Cost Benefit Analysis (CBA) หรือ Social Cost Effectiveness Analysis
(CEA) มาใช้เพื่อพิจารณาส่วนต่างระหว่างต้นทุนและผลตอบแทน
(4) การระบุทางเลือกที่คาดว่าจะนำมาใช้ (preferred option) เป็นการกำหนดทาง
เลือกโดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ในหัวข้อก่อน เพื่อให้ทราบว่าทางเลือกใดที่ทำให้เกิด
ความคุ้มค่าที่สุดเมื่อพิจารณาจากต้นทุน ผลตอบแทน ความเสี่ยง ปัจจัยประการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่
ตัวเงินที่ส่งผลต่อความคุ้มค่าในการลงทุน
(5) การติดตามตรวจสอบ (Monitoring) คือ การเก็บข้อมูล ทั้งในระหว่างการบังคับ
ใช้และภายหลังการบังคับใช้ เพื่อใช้ในประกอบการตัดสินใจที่จะมีขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต
(6) การประเมินผล (Evaluation) คือ ระบบที่ใช้สำหรับการประเมินรูปแบบ วิธีการ
บังคับใช้ และผลลัพธ์ของมาตรการแทรกแซงของรัฐ ซึ่งทั้งการตรวจสอบและการประเมินผลนั้น
ควรจะได้พิจารณาทั้งในชั้นก่อนการดำเนินการ ระหว่างการดำเนินการ และภายหลังการดำเนิน
มาตรการแทรกแซงนั้น
จากรายละเอียดที่นำเสนอไปนั้นจะเห็นว่าแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่ใช้ใน
สหราชอาณาจักรปัจจุบันนั้นมีรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินการที่แตกต่างออกไปจาก
แนวทางภาพรวมที่ EU Commission กำหนดดังที่ได้กล่าวไปแล้วในบทก่อน โดยเฉพาะ
การกำหนดระดับขั้นของการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์ทางเลือกอย่างกว้าง
(longlist analysis) และการประเมินทางเลือกที่ถูกกำหนดไว้ (shortlist appraisal) โดยกำหนด
เทคนิคการวิเคราะห์ในแต่ละชั้นอย่างชัดเจนในขณะที่แนวทางดำเนินการของ EU Commission
186
ไม่ได้ลงรายละเอียดในส่วนนี้มากนัก โดยในหัวข้อถัดไปจะนำเสนอรายละเอียดเทคนิค
การวิเคราะห์ที่ใช้ในขั้นตอนการวิเคราะห์ทางเลือกอย่างกว้าง (longlist analysis) และ
การประเมินทางเลือกที่ถูกกำหนดไว้ (shortlist appraisal)
4.1.4 เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบ
ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อก่อนว่าแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่เห็นอย่างโดดเด่นของ
สหราชอาณาจักรได้แก่การแบ่งระดับและขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบเป็น 2 ระดับ (two-
stage process of appraisal) โดยเน้นการวิเคราะห์ในภาพกว้างโดยอาศัย longlist analysis
186 รายละเอียดขั้นตอนในบริบทของ EU ดูหัวข้อ 3.4.1.1 การวิเคราะห์ผลกระทบของแต่ละทางเลือก (คำถาม
ข้อที่ 5) ในบทที่ 3
สถาบันพระปกเกล้า
118