Page 149 - kpiebook65010
P. 149

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               โดยการเลือกกำหนดเหตุการณ์ที่เป็นความไม่แน่นอนในทางเทคนิค เศรษฐกิจ หรือการเมืองที่จะ
               ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของมาตรการหนึ่ง ทั้งนี้ การวิเคราะห์สถานการณ์จะต้องกระทำอย่าง

               เหมาะสมเมื่อพิจารณาจากต้นทุนและความเสี่ยงทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง โดยหากตัวข้อเสนอนั้น
               มีต้นทุนหรือความเสี่ยงต่ำ คำถามที่ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ก็อาจเป็นคำถาม

               ที่ไม่ซับซ้อนนัก ในขณะที่นโยบายในเรื่องสำคัญและใช้ต้นทุนสูง อาจต้องมีการกำหนดตัวแบบ
               ที่สามารถทดสอบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นภายใต้ต้นทุนและผลประโยชน์ที่คาดหวังไว้ โดยเทคนิค
               ที่แนะนำ คือ การสร้างชุดข้อมูลจำลองแบบ Monte Carlo analysis หรือการใช้ Decision trees

               and real options analysis ตามความเหมาะสม

                            11) การวิเคราะห์ประเด็นเรื่องความเท่าเทียม (equalities analysis) 220


                              หลักการว่าด้วย Public Sector Equality Duty (PSED) กำหนดให้
               หน่วยงานของรัฐต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคให้แก่กลุ่มของบุคคล
               ที่มีลักษณะอันควรได้รับความคุ้มครองตามที่กำหนดไว้ใน Equality Act ซึ่งบทวิเคราะห์ว่าด้วย

               ความเท่าเทียมนั้นต้องปรากฏอยู่ในชั้นของการกำหนด shortlist และผลของการวิเคราะห์นั้น
               ต้องปรากฏเป็นที่รับรู้ต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจด้วย ทั้งนี้ ควรต้องมีการคำนึงถึงผลกระทบโดยเฉลี่ย

               ที่จะเกิดขึ้นต่อกลุ่มคนและสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงกรณีที่มีปัจจัยหลายประการซึ่งต้องพิจารณา
               ประกอบกัน หากประเด็นดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญแล้ว ก็ควรได้มีการศึกษา
               ทำความเข้าใจเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หรือหากยังมีความไม่แน่นอนหรือ

               ยังขาดหลักฐานที่จะทำความเข้าใจถึงผลดังกล่าว ก็ควรได้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น หรือ
               การศึกษาวิจัยเพื่อให้มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ

               4.1.5  ตัวอย่างการดำเนินการ: กรณีศึกษา Warm Home Discount

                      Scheme 2021/22        221

                      4.1.5.1   ความเป็นมาของเรื่อง


                            จากข้อมูลเมื่อปี  2018 ครัวเรือนกว่า 2.4 ล้านหลังมีปัญหาการขาดแคลน
               เชื้อเพลิง เนื่องจากครัวเรือนเหล่านี้มีรายได้น้อยจนไม่สามารถที่จะหาเชื้อเพลิงเพื่อทำความร้อน


                    220   ibid, paragraphs 5.66 – 5.67.

                    221   Department for Business, Energy and Industrial Strategy, ‘Warm Home Discount Scheme
               2021 to 2022: Consultation Outcome’ (WHD IA) <www.gov.uk/government/consultations/warm-home-

               discount-scheme-2021-to-2022> เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     137
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154