Page 151 - kpiebook65010
P. 151

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                            3) ทางเลือกที่ 2 ขยายโครงการถึงปี 2020/2021 โดยคงมาตรการไว้
               ตามเดิม ทางเลือกนี้จะเป็นการขยายโครงการออกไปอีกหนึ่งปี ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับ

               การสนับสนุนรายจ่ายด้านพลังงานภายใต้เงื่อนไขที่เหมือนเดิมทุกประการ

                      4.1.5.3   การวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์ และผลกระทบ


                            ก) ต้นทุนและผลประโยชน์ที่คำนวณเป็นเงินได้   225

                              การคำนวณต้นทุนและผลประโยชน์นั้นมีการคำนวณโดยใช้ค่าสุทธิที่เป็น

               ปัจจุบัน (Net Present Values) ทั้งในแบบปกติ และในแบบที่อิงน้ำหนักความเป็นธรรมประกอบ
               (equity weighted) โดยที่วัตถุประสงค์ของโครงการ WHD มีขึ้นเพื่อถ่ายโอนรายได้จากกลุ่มหนึ่ง
               ของสังคมไปยังอีกกลุ่มหนึ่งที่สมควรได้รับการสนับสนุนปัจจัยที่ด้านพลังงานเพื่อการทำความร้อน

               ในครัวเรือน ต้นทุนการชดเชยด้านพลังงานนี้จึงถูกกระจายไปยังบรรดาผู้ชำระค่าเชื้อเพลิงใน
               Great Britain (ประมาณ 97 % ในตลาดทั้งหมดตามข้อมูลของ Ofgem เมื่อปี 2019)


                              ส่วนประโยชน์หลักของโครงการนั้นจะเป็นการที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยได้รับ
               การชดเชยค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซึ่งการคิดประโยชน์ในส่วนนี้ได้มีการอิงน้ำหนักความเป็นธรรม
               ประกอบไปด้วย โดยน้ำหนักด้านความเป็นธรรมที่นำมาคิดนั้น คำนวณจากผลที่เกิดขึ้นในการลดลง

               ของอรรถประโยชน์ในส่วนต่างของรายได้ (diminishing marginal utility of income)
               ซึ่งหมายความว่า กลุ่มผู้มีรายได้น้อยซึ่งได้รับการอุดหนุนนั้น ย่อมให้ค่ากับเงินจำนวน 140 ล้านปอนด์

               ที่ได้รับมากกว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูงนั่นเอง การคิดคำนวณค่านี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคำนวณ
                                         226
               ที่กำหนดขึ้นโดย HM Treasury  โดยมีการนำค่านี้ไปใช้เพื่อสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของรายการ
               ดังต่อไปนี้


                                    ๏ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ลดลงของครัวเรือน (โดยถือว่า 41 % ของ
                                      เงินอุดหนุนนั้นให้ผลในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครัวเรือน)


                                    ๏ รายได้ที่เพิ่มขึ้นเพราะได้รับการอุดหนุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
                                      (โดยถือว่า 59 % ของเงินอุดหนุนนั้น ให้ผลในทางที่สามารถนำรายได้

                                      ไปใช้จ่ายในรายการอื่นได้)



                    225   WHD IA (n 48) 16-20.


                    226   Green Book (n 4) 78-81.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     139
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156