Page 144 - kpiebook65010
P. 144

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                              สำหรับปัจเจกบุคคลแล้ว การหาค่า Time Preference โดยพิจารณาจาก
               อัตราดอกเบี้ยการให้กู้ยืม ในส่วนของการลงทุน ผู้คนมักเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงคงที่และ

               อยู่ในระดับต่ำ โดยคาดหวังว่าจะได้ประโยชน์จากการลงทุนนั้นในจำนวนที่มากกว่าเพื่อชดเชย
               ส่วนที่สูญเสียไปจากการบริโภคในเวลาปัจจุบัน อัตราผลประโยชน์ที่แท้จริงเหล่านี้จะเป็น

               เครื่องช่วยชี้วัดว่า Time Preference ของแต่ละคนเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อพิจารณาไปที่ภาพรวมของ
               สังคมแล้ว จะพบว่าความต้องการของสังคมเองก็ปรารถนาจะได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือบริการ
               โดยเร็วมากกว่าที่จะรอเวลาให้ล่าช้าออกไป หลักคิดนี้เรียกว่า Social Time Preference และ

               การลดค่าที่นำมาใช้ในคู่มือนี้เรียกว่า Social Time Preference Rate (STPR) ซึ่งหมายถึงอัตรา
               ที่ใช้สำหรับเปรียบเทียบมูลค่าทางสังคมในปัจจุบันกับที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดย SPTR

               มีองค์ประกอบดังนี้

                                   (1) ‘time preference’ คือ อัตราการลดค่าของการบริโภคและ
                                      การใช้จ่ายสาธารณะในช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป โดยข้อสันนิษฐาน

                                      ที่ว่าการบริโภคต่อหัว (per capita consumption) ไม่เปลี่ยนแปลง
                                      ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความโน้มเอียงที่มีต่อมูลค่าในปัจจุบันเมื่อเทียบกับ

                                      มูลค่าในอนาคต

                                   (2) ‘wealth effect’ เป็นค่าที่สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตในอัตรา
                                      การบริโภคต่อหัวในช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการบริโภคใน

                                      อนาคตย่อมมีปริมาณในเชิงสัมพัทธ์ที่มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ
                                      ปัจจุบันในขณะที่ประโยชน์ใช้สอยของสินค้าหรือบริการนั้นย่อมลดลง


                              ค่า STPR ที่ใช้ใน Green Book ถูกกำหนดไว้ที่ 3.5 % ของมูลค่าที่แท้จริง
               โดยมีข้อยกเว้น คือ ในคุณค่าต่อชีวิต (life value) นั้นกำหนดอัตราไว้ที่ 1.5 % ทั้งนี้ บทบาท

               ที่สำคัญของการลดค่านั้น คือ ทำให้การพิจารณามูลค่ามาตรการของรัฐที่มีช่วงเวลาการบังคับใช้
               และฐานการพิจารณาต้นทุนและผลประโยชน์ที่แตกต่างกันนั้นอยู่บนพื้นฐานที่คำนึงถึง “มูลค่าที่
               เป็นปัจจุบัน” (present value) เหมือนกัน และสำหรับมาตรการในระยะยาว (มากกว่า 30 ปีขึ้นไป)

               จะมีการกำหนดขั้นสำหรับการลดค่า STPR เอาไว้ให้มีความเหมาะสมกับปัจจัยความไม่แน่นอน
               ในอนาคตที่จะเกิดขึ้นด้วย รวมไปถึงกรณีที่เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการถ่ายโอนความมั่งคั่ง

               ข้ามรุ่น (inter-generational wealth transfers)  215



                        ibid, paragraphs A6.1 – A6.24.
                    215
                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     132
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149