Page 145 - kpiebook65010
P. 145

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                              การลดค่าในที่นี้เป็นการคำนึงถึงปัจจัยความโน้มเอียงในเรื่องช่วงเวลาเป็น
               สำคัญ และไม่เกี่ยวข้องกับการปรับค่าตามอัตราเงินเฟ้อ อัตราการลดค่าจึงนำไปใช้กับมูลค่า

               ตามจริงซึ่งได้ปรับตามอัตราเงินเฟ้อไปแล้ว แนวทางที่แนะนำคือ ให้ปรับค่าของต้นทุนและ
               ผลประโยชน์ให้เป็นไปตามราคาที่แท้จริงก่อน จากนั้นจึงค่อยนำอัตราการลดค่าไปปรับใช้


                            8)  ความไม่แน่นอน ความเสี่ยง และความโน้มเอียงเพราะอคติจากการคิด
               ในแง่ดี (uncertainty, risk, optimism bias) 216

                              ในการวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการใด ๆ ที่ดำเนินการโดยรัฐ

               ซึ่งรวมถึงการออกกฎระเบียบด้วยนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการคำนึงถึงปัจจัยที่เป็นความไม่แน่นอน
               ทั้งหลายที่จะส่งผลต่อมาตรการที่รัฐใช้ด้วย แต่ในการดำเนินการในมาตรการที่เป็นเรื่องใหม่นั้น

               มักจะปรากฏว่าหน่วยงานยังไม่มีหลักฐานหรือความเข้าใจต่อบรรดาความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นใน
               ภายหน้ามากนัก เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ทำให้จำเป็นต้องนำเอาการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมาตรการ
               ลักษณะเดียวกันที่เคยใช้ก่อนหน้านี้ หรือผลศึกษาจากช่วงเวลาทดลองใช้ หรือประสบการณ์ตรงที่

               บอกว่ามาตรการใดใช้ได้ผลหรือไม่มาพิจารณาประกอบกัน ซึ่งในกระบวนการของการทำรายงาน
               ประเมินผลกระทบนั้น Green book ได้กำหนดถึงเทคนิควิธีที่จะช่วยให้ผู้จัดทำรายงานได้นำเอา

               ข้อคำนึงถึงความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นมารวมเอาไว้ในรายงานการประเมินผลด้วย เทคนิค
               ดังกล่าวได้แก่ การกำหนดตัวแปรว่าด้วยความโน้มเอียงเพราะอคติจากการคิดในแง่ดี (optimism
               bias) และการจัดการความเสี่ยง (risk management)


                              ตัวแปรว่าด้วยความโน้มเอียงเพราะอคติจากการคิดในแง่ดี นั้น เป็นการ
               กำหนดค่าเพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวผู้ประเมินมีแนวโน้มที่จะประเมินผลเกี่ยวกับตัวชี้วัดที่สำคัญของ

               มาตรการนั้นเกินกว่าความเป็นจริงมากเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของต้นทุนที่เป็นทุน ต้นทุน
               การดำเนินการ ระยะเวลาการดำเนินการ และผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการกำหนดค่าสำหรับ

               การประเมินที่เกินความเป็นจริงนี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการกำหนดเป้าหมายที่ไม่สามารถทำให้
               สำเร็จได้นั่นเอง

                              การจะลดค่าดังกล่าวลงนั้น ผู้ประเมินจะต้องจะต้องแสดงให้เห็นถึงปัจจัย

               ที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนค่านั้นอย่างชัดแจ้ง โดยในขั้นเริ่มต้นของการทำรายงานนั้น จะต้องมี
               การกำหนดค่าตัวแปรว่าด้วยความโน้มเอียงเพราะอคติจากการคิดในแง่ดีไว้แต่แรก โดยค่าดังกล่าว

               จะสามารถปรับเปลี่ยนให้น้อยลงได้ตลอดเวลาที่จัดทำรายงานการประเมินดังกล่าว หากบรรดา


                        ibid, paragraphs 5.41 – 5.52.
                    216
                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     133
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150