Page 146 - kpiebook65010
P. 146

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               ต้นทุนในความเสี่ยงเฉพาะเรื่องได้ปรากฏเป็นที่แน่ชัดแล้ว ซึ่งการปรับเปลี่ยนค่าที่กำหนดไว้นั้น
               ควรทำต่อเมื่อหน่วยงานมีหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอที่จะคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

               โดยหลักฐานเช่นว่านั้นควรเป็นผลลัพธ์ของมาตรการในทำนองเดียวกันที่เคยทำมาในอดีต

                              ส่วนการจัดการความเสี่ยง เป็นวิธีการที่ใช้สำหรับบริหารจัดการความเสี่ยง

               ที่ถูกระบุไว้ หรือได้รับการประเมินว่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่การออกแบบมาตรการนั้นหรือที่ปรากฏให้
               เห็นในช่วงเวลาที่ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวอยู่ ซึ่งการจะคาดการณ์ถึงมูลค่าทางสังคม
               ที่ถูกต้องได้นั้น จำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจมีขึ้นอย่างรอบคอบและถูกต้อง

               เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นในชั้นของการวิเคราะห์ผลกระทบก่อนมีมาตรการ การตรวจสอบ และ
               การติดตามประเมินผลภายหลังจากได้ดำเนินการตามมาตรการไปแล้ว  ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วย


                                   (1) การระบุถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ไว้ก่อนล่วงหน้า และจัดเตรียม
                                      กลไกที่ใช้เพื่อลดผลกระทบในทางความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งใน
                                      รายงานประเมินผลควรจะต้องมีข้อพิจารณาว่าความเสี่ยงที่ระบุไว้นั้น

                                      จะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น บรรเทาผลร้าย หรือบริหารจัดการ
                                      ได้ด้วยวิธีใดบ้าง


                                   (2) รวมเอาต้นทุนที่ใช้เพื่อการหลีกเลี่ยง ถ่ายโอน หรือบรรเทาผล
                                      ของความเสี่ยงเหล่านั้นมาคำนวณเป็นต้นทุนรวมทั้งหมดด้วย โดย

                                      การจัดทำบัญชีรายการความเสี่ยงไว้ตั้งแต่ในขั้นแรกของการริเริ่ม
                                      พิจารณามาตรการและเก็บรักษาบัญชีนั้นไว้ไปตลอดถึงขั้นตอนของ
                                      การปรับใช้มาตรการ โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่นำเอามาตรการไป

                                      ปรับใช้นั้นต้องมีบัญชีรายการความเสี่ยงนี้ไว้ในครอบครองด้วย

                                   (3) พิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการความเสี่ยงหลักและ

                                      ด้วยวิธีการใด

                                   (4) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าความเสี่ยงนั้นได้ตกอยู่ในความรับผิดชอบของ
                                      องค์กรที่มีความเหมาะสมที่สุดที่จะตรวจสอบและบริหารจัดการ

                                      ความเสี่ยงนั้น โดยที่องค์กรนั้นมีความเข้าใจอย่างชัดแจ้งถึงความรับ
                                      ผิดชอบของตน และมีอำนาจควบคุมเพียงพอที่จะบรรเทาผลร้ายแรง

                                      หากความเสี่ยงเช่นว่านั้นเกิดขึ้นจริง



                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     134
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151