Page 148 - kpiebook65010
P. 148

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               Value (NPSV) และ Benefit Cost Ratios (BCR) โดยค่า NPSV คือ ค่าที่ได้จากการนำเอามูลค่า
               ปัจจุบันของผลประโยชน์ลบออกด้วยมูลค่าปัจจุบันของต้นทุน ซึ่งจะทำให้เห็นภาพรวมของ

               ผลกระทบทั้งหมดสำหรับทางเลือกดำเนินมาตรการแบบใดแบบหนึ่ง ส่วนค่า BCR เป็นอัตราส่วน
               ระหว่างมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์กับมูลค่าปัจจุบันของต้นทุน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์

               ระหว่างผลประโยชน์กับต้นทุน ทั้งนี้ การคำนวณค่าต้นทุนและผลประโยชน์สำหรับในอนาคตนั้น
               จะต้องมีการปรับอัตราเงินเฟ้อ และลดค่าด้วย STPR ตามที่ได้กล่าวถึงไว้ข้างต้นด้วย

                              การเลือกใช้ค่าสรุป รวมถึงวิธีการคำนวณที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับบริบท

               ของการตัดสินใจเป็นสำคัญ เช่น สำหรับการทำ RIA ซึ่งมีกรอบแนวคิดที่สำคัญคือการกำหนด
               ต้นทุนสำหรับการกำกับดูแลธุรกิจ การกำหนดทางเลือกที่จะนำมาใช้นั้นย่อมต้องนำเอาต้นทุนที่จะ

               เกิดขึ้นกับธุรกิจจากการออกกฎระเบียบนั้นมาพิจารณาประกอบด้วย เป็นต้น หรือในกรณีที่ต้นทุน
               และผลประโยชน์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญนั้นไม่อาจกำหนดเป็นจำนวนเงินได้ สถานการณ์เช่นนี้
               ทำให้การใช้ค่าสรุปเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของทางเลือกนั้นทั้งหมด

               เป็นต้น

                            10) การวิเคราะห์ความอ่อนไหว (sensitivity analysis)  219


                              การวิเคราะห์ความอ่อนไหว เป็นวิธีการที่ใช้เพื่อค้นหาว่าผลลัพธ์ของ
               การดำเนินการตามมาตรการหนึ่งนั้น มีความแปรเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น

               กับตัวแปรหลักบางประการหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนไปของข้อสมมติฐานหลักประการหนึ่ง
               อาจส่งผลให้การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่คาดว่าจะนำมาใช้เปลี่ยนแปลงไปโดยอาศัยค่า NPSV
               หรือ BCR เปลี่ยนไป หรืออาจทำให้ค่า NPSV ของทางเลือกนั้นมีค่าเพิ่มขึ้น เป็นต้น


                              การวิเคราะห์ความอ่อนไหวและการหาค่าที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
               (switching values) ควรจะได้กระทำตั้งแต่ในขั้นตอนของการกำหนดทางเลือกสำหรับการทำ

               shortlist โดยหาต้นทุนและผลประโยชน์ของทางเลือกที่คาดว่าจะนำมาใช้นั้นมีความอ่อนไหวสูง
               ถึงระดับหนึ่ง ก็ควรที่จะได้ทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวสำหรับทางเลือกประการอื่น ๆ ใน
               shortlist ด้วย


                              การวิเคราะห์ตามสถานการณ์ (Scenario analysis) เป็นเครื่องมือ
               การวิเคราะห์ที่สำคัญสำหรับกรณีที่มีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนในอนาคตที่ส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญ




                    219   ibid, paragraphs 5.59 – 5.65.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     136
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153