Page 156 - kpiebook65010
P. 156
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
หลังจากนั้น Department of Public Expenditure and Reform (DPER) จึงได้กลายเป็น
หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการจัดทำแนวปฏิบัติและการฝึกอบรมเกี่ยวกับ RIA รวมถึงการประเมิน
ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายและการประสานงานกับผู้มีส่วนได้เสีย อย่างไรก็ตาม การนำเอาเครื่องมือ
ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบไปปรับใช้ และการกำกับดูแลในแต่ละภาคส่วน
นั้นยังคงเป็นหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะของกระทรวงที่เกี่ยวข้องเช่นเดิม 237
หากเปรียบเทียบกับประเทศที่มีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำ RIA ประเทศอื่นๆ แล้ว
อาจกล่าวได้ว่า ไอร์แลนด์เป็นประเทศที่เพิ่งเริ่มมีความตื่นตัวในการจัดทำ RIA ในกลุ่มหลัง ๆ นับ
จากรายงานการศึกษาของ OECD ที่มีขึ้นในปี 2001 นำไปสู่การทดลองนำรูปแบบการจัดทำ RIA
มาใช้กับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในประเทศจนถึงขั้นที่มีผลอย่างเต็มที่เมื่อปี 2005 ที่รัฐบาลจัดทำ
แนวปฏิบัติอย่างเป็นทางการรวมเอาไว้ในคู่มือของคณะรัฐมนตรีและกำหนดให้การวิเคราะห์
ผลกระทบก่อนการออกกฎระเบียบขึ้นใหม่ในเรื่องใด ๆ นั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
พัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบของภาครัฐ โดยวัตถุประสงค์หลักของการนำมาตรการนี้มาใช้ก็เพื่อให้
หน่วยงานที่ออกกฎระเบียบนำเอามุมมองในมิติต่าง ๆ รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งหมด
มารวบรวมไว้ให้อยู่ภายใต้กรอบการวิเคราะห์ที่เป็นหนึ่งเดียวกันนั่นเอง 238
4.2.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบในภาพรวม
ใน Revised RIA Guidelines 2009 ได้แสดงถึงลำดับของขั้นตอนการทำ RIA ในภาพรวม
รวมทั้งรายละเอียดขององค์ประการของ RIA เอาไว้ โดยในส่วนของขั้นตอนการดำเนินการใน
ภาพรวมนั้นอาจสรุปให้เห็นได้ตามแผนภาพต่อไปนี้ 239
237 OECD Regulatory Policy Outlook 2018 (n 2) 198.
238 OECD, Better Regulation in Europe: Ireland 2010 (OECD Publishing 2010) 108-113.
239 Department of the Taoiseach, “Revised RIA Guidelines: How to Conduct a Regulatory
Impact Analysis” (Department of the Taoiseach 2009) paragraph 2.5.
สถาบันพระปกเกล้า
144