Page 158 - kpiebook65010
P. 158
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
(1) ข้อมูลโดยสรุปของ RIA เนื้อความในส่วนแรกเป็นการสรุปสาระสำคัญของ RIA
ไว้โดยย่อเพื่อให้เห็นส่วนที่เป็นข้อมูลสำคัญของรายงานทั้งหมดไว้
(2) การอธิบายถึงบริบทในทางนโยบาย และการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้
เกิดขึ้น โดยวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้นั้นต้องมีความสอดคล้องกับแนวทาง
SMART objectives ด้วย
(3) การระบุถึงทางเลือกในเชิงนโยบายที่อาจดำเนินการได้ ในส่วนนี้ต้องแสดง
เนื้อหาที่กล่าวถึงทางเลือกในการดำเนินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามความเหมาะสม
ของเรื่อง รวมถึงการกล่าวถึงมาตรการในลักษณะที่ “ไม่มีการดำเนินการใด”
ซึ่งจะมีประโยชน์ในฐานะเป็นข้อมูลฐานสำหรับการเปรียบเทียบ (benchmark)
ว่าทางเลือกในการดำเนินนโยบายอื่นจะให้ผลที่แตกต่างเป็นประการใด
(4) การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และผลกระทบ ของทางเลือกต่าง ๆ ขั้นตอนนี้
จะต้องพยายามวิเคราะห์ผลกระทบของทางเลือกทุกประการในทุกแง่มุมเท่าที่
สามารถจะทำได้ โดยทำให้มูลค่าออกมาเป็นเงิน (monetize) ให้มากที่สุด หรือ
พยายามกำหนดปริมาณ (quantify) เท่าที่จะทำได้ ซึ่งระดับการวิเคราะห์นั้น
ให้ปรับใช้ตามความสำคัญของข้อเสนอ โดยในข้อเสนอที่มีความสำคัญมาก
จะต้องใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนอย่างเต็มรูปแบบ โดยควรจะได้นำ
เอาวิธีการวิเคราะห์แบบ multi-criteria analysis มาใช้ประกอบด้วย
(5) การปรึกษาหารือเพื่อรับฟังความคิดเห็น การรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียจากการออกกฎระเบียบนั้น เป็นเงื่อนไขที่สำคัญประการหนึ่งในการจัดทำ
RIA โดยควรดำเนินตั้งแต่ในขั้นตอนเริ่มแรกของการจัดทำ เพื่อให้สามารถนำเอา
ข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และผลกระทบได้
(6) การคาดการณ์ถึงการบังคับใช้และการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย
(enforcement and compliance) เนื้อความในส่วนนี้เป็นการระบุถึงปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนในการบังคับใช้และการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย
คำถามหลักที่สำคัญ คือ กฎระเบียบที่ออกมานั้นสามารถใช้บังคับได้ภายใต้
ข้อจำกัดในทางงบประมาณหรือไม่ ซึ่งหากคำตอบคือ ไม่สามารถทำได้แล้ว ต้องมี
การนำเอามาตรการทางเลือกประการอื่นมาพิจารณาด้วย และการปฏิบัติตาม
กฎหมายที่ออกมาให้มีประสิทธิภายที่สุดนั้นเป็นเช่นไร จะมีวิธีการใดให้บรรลุ
เป้าหมายเช่นว่านั้น
สถาบันพระปกเกล้า
146