Page 161 - kpiebook65010
P. 161
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ทั้งนี้ แนวคิดสำคัญของ RIA คือหลักความได้สัดส่วนที่เหมาะสม
(proportionality principle) โดยเลือกใช้ระดับการวิเคราะห์ที่ปรับเปลี่ยนตามความสำคัญของ
มาตรการเป็นรายกรณีไป โดยที่ผู้จัดทำต้องมีความเข้าใจว่า RIA เป็นเรื่องของกระบวนการ ไม่ใช่แค่
ผลลัพธ์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องทำตั้งแต่ในเวลาที่ริเริ่มมาตรการขึ้น และ
ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา โดยแนวคิดนี้เป็นไปในทางเดียวกับแนวทาง
การวิเคราะห์ผลกระทบอย่างได้สัดส่วน (proportionate analysis principle) ของ EU ที่ได้กล่าว
ไปแล้วในบทก่อน
หน่วยงานของรัฐที่ริเริ่มการร่างกฎหมายในเรื่องใด ๆ ย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบ
ในการจัดเตรียม RIA สำหรับเรื่องนั้น ซึ่งจะต้องจัดทำตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้นของการจัดทำ
ร่างกฎหมายนั้น และยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการเผยแพร่เนื้อหาของ RIA นั้นให้กับบรรดาส่วนงาน
ที่บังคับใช้กฎระเบียบที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนด้วย โดยรัฐบาลได้มีการลงทุนเพื่อสร้าง
นักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญในทางเศรษฐศาสตร์ผ่านหลักสูตร Masters in Policy Analysis
(Economics) ซึ่งพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง Civil Service กับ Irish Institute for
Public Administration รวมถึงการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์เฉพาะรายให้มาทำหน้าที่
รับผิดชอบการจัดทำ RIA ด้วย 244
4.2.3.2 ขอบเขตของ RIA 245
นับตั้งแต่มิถุนายน ค.ศ. 2005 การจัดทำ RIA ถูกกำหนดให้เป็นเงื่อนไขสำคัญ
ในการที่หน่วยงานของรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่น เมื่อมีการดำเนินการเกี่ยวข้องกับเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ข้อเสนอเพื่อให้มีการบัญญัติกฎหมายลำดับหลักที่ส่งผลให้เกิดความ
เปลี่ยนแปลงกรอบของกฎระเบียบที่มีอยู่เดิม
(2) เอกสารสำคัญเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมาย
(3) ข้อเสนอที่เป็นไปตาม EU Directives และกฎระเบียบที่สำคัญของ EU
ซึ่งได้เผยแพร่โดย European Commission
(4) การทบทวนนโยบายที่จะนำไปสู่การยื่นข้อเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมาย
การกำหนดให้ต้องมีการจัดทำ RIA สำหรับ EU Directive นั้น ถือเป็น
แนวทางที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในสหภาพยุโรป ในขณะที่เงื่อนไขการจัดทำ RIA สำหรับ
244 Revised RIA Guidelines 2009 (n 66) 109-110.
245 ibid 109.
สถาบันพระปกเกล้า
149