Page 159 - kpiebook65010
P. 159
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
(7) การทบทวน (Review) ขั้นตอนสุดท้ายในการจัดทำ RIA คือ การกำหนดกลไกที่
ใช้เพื่อการทบทวนกฎระเบียบที่ออกไปเพื่อประเมินว่าการบังคับใช้กฎระเบียบนั้น
ได้บรรลุผลตอบแทนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ มาตรการทบทวนเช่นว่า
นั้นอาจเป็นการกำหนดให้จัดทำรายงานผลการดำเนินการเป็นประจำทุกปี หรือ
การจัดการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย การจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะ
เพื่อทบทวน เป็นต้น บางกรณีอาจมีการกำหนดเงื่อนเวลาสิ้นผลของกฎหมายไว้
กระบวนการเหล่านี้จะทำให้แน่ใจว่าได้ในอนาคตจะมีการทบทวนว่ากฎหมาย
ที่ออกไปนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ ควรยกเลิก แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือให้มี
ผลบังคับต่อไปตามเดิม การกำหนดมาตรการทบทวนนั้นยังถือเป็นเงื่อนไขสำคัญ
ที่แสดงให้เห็นว่าการวิเคราะห์ข้อมูลใน RIA นั้น อาจอยู่บนข้อสันนิษฐาน
บางประการซึ่งไม่ได้มีอยู่ในความเป็นจริงก็ได้
(8) การเผยแพร่ (Publication) ตามข้อกำหนดใน Social Partnership
Agreement รัฐบาลจะต้องมีการเผยแพร่ RIA ควบคู่ไปกับมติใด ๆ ที่รัฐบาล
มีเกี่ยวข้องกับ RIA นั้น การเผยแพร่ RIA จะทำให้กระบวนการปรับปรุงและ
พัฒนานโยบายมีความโปร่งใสและเข้าถึงได้โดยผู้มีส่วนได้เสียทุกคน รวมทั้ง
ยังเป็นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สภานิติบัญญัติในการจัดทำกฎหมายด้วย
นอกจากนี้ RIA ที่เผยแพร่ยังเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานที่ไม่เคยจัดทำ RIA
มาก่อนที่จะได้มีตัวอย่างในการดำเนินการด้วย
4.2.3 แนวทางและวิธีการในการวิเคราะห์ผลกระทบ
ในหัวข้อนี้อาจแบ่งข้อพิจารณาย่อยออกได้เป็นอีก 2 ส่วน ดังนี้
4.2.3.1 แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบ 241
เอกสารหลักที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ RIA ของหน่วยงานในประเทศ
ไอร์แลนด์ในปัจจุบัน คือ Revised RIA Guidelines (2009) ซึ่งเป็นคู่มือที่ปรับปรุงมาจาก RIA
Guidelines ฉบับปี 2005 หลายประการ ข้อหนึ่งคือ การยกเลิกการแบ่งแยกประเภทของ RIA
เดิมที่แยกเป็น Screening RIAs กับ RIA เต็มรูปแบบ (Full RIAs) เนื่องจากหน่วยงานมักทำ
Screening RIA โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์แต่เพียงว่าเพราะเหตุใดจึงไม่สามารถจัดทำ RIA เต็ม
241 Better Regulation in Europe: Ireland 2010 (n 65) 108-109.
สถาบันพระปกเกล้า
147