Page 162 - kpiebook65010
P. 162

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               การออกกฎหมายลำดับรองที่มีความสำคัญนั้น แม้จะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้แต่ก็ไม่ได้มีนิยามที่
               ชัดเจนว่ากฎหมายลำดับรองที่ “มีความสำคัญ” เป็นอย่างไร ทำให้เป็นดุลพินิจของแต่ละหน่วยงาน

               ที่จะพิจารณาเองโดยคำแนะนำของ BRU ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงานนั้น ๆ นอกจากนี้ เงื่อนไข
               การจัดทำ RIA ยังไม่ครอบคลุมถึงหน่วยงานกำกับดูแลบางหน่วยงานและองค์กรส่วนท้องถิ่น

               เป็นเพียงแต่ข้อแนะนำว่าควรจะได้จัดทำตามความเหมาะสมเท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าบางหน่วยงาน
               ก็ยังไม่มีความพร้อมที่จะจัดทำ RIA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีอำนาจใน
               การออกกฎระเบียบอย่างจำกัด สถานการณ์เช่นนี้ทำให้แนวคิดและวิธีการที่นำมาใช้เพื่อจัดทำ RIA

               ของหน่วยงานที่ไม่ได้ถูกบังคับเหล่านี้ยังไม่เป็นไปในระบบเดียวกันนัก อย่างไรก็ตาม ในหน่วยงาน
               บางหน่วยงานสามารถกำหนดนโยบายในการจัดทำ RIA ได้อย่างน่าสนใจ เช่น Commission for

               Communications Regulation ได้เผยแพร่คู่มือการจัดทำ RIA ของหน่วยงานเมื่อปี  2007
               โดยนำเอาแนวทางของรัฐบาลมาเป็นพื้นฐาน เป็นต้น นอกจากนี้ ในบางหน่วยงานยังมีแนวปฏิบัติ
               เฉพาะที่ดีรวมไปถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบ

               เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาแลกเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานของรัฐได้

                                                                           246
                      4.2.3.3   เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบ

                            ในคู่มือปี 2009 ระบุว่า กระบวนการจัดทำ RIA นั้นควรเป็นกระบวนการที่ทำ
               ตั้งแต่ในชั้นเริ่มต้นของการจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎระเบียบในเรื่องนั้น โดยหากเป็น
               ไปได้ ก็ควรนำเอา RIA นั้นมาใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นด้วย ซึ่งหากจะกล่าวโดยเฉพาะ

               เจาะจงแล้ว RIA ควรถูกผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของร่างบันทึกความเข้าใจ และเค้าโครงของร่างกฎหมาย
               (เอกสารที่เรียกว่า “the heads of bill”) ที่ได้ส่งให้กับคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติก่อนที่จะไปถึง

               ขั้นตอนของการจัดทำร่างกฎหมายต่อไป ความในคู่มือยังย้ำให้เห็นอีกว่า RIA เป็นเอกสารที่
               สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อความให้มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปหรือข้อมูลที่มีมากขึ้น
               ได้ตลอดเวลา ดังนั้น หน่วยงานอาจมีร่าง RIA หลายฉบับก่อนที่จะไปถึงรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อไป


                            แนวคิดหลักในการวิเคราะห์ผลกระทบยังคงให้ความสำคัญกับวิธีวิเคราะห์
               แบบ Cost-Benefit Analysis โดยเฉพาะเมื่อปรากฏว่าร่างกฎหมายที่กำลังจะทำการวิเคราะห์นั้น

                                           247
               จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ  อย่างไรก็ดี ความแตกต่างประการหนึ่งของกระบวนที่ใช้
               ในการจัดทำ RIA ของไอร์แลนด์เมื่อเทียบกับของสหราชอาณาจักร คือ ในขณะที่แนวคิดของ


                    246   ibid.
                    247   รายละเอียดเงื่อนไขการพิจารณาว่าผลกระทบใดมีนัยสำคัญเพียงใดสามารถดูเพิ่มเติมได้จาก Revised RIA
               Guidelines 2009 (n 66) paragraph 3.3.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     150
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167