Page 168 - kpiebook65010
P. 168
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ประเด็นที่ห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติเอาไว้ 9 ประการ ได้แก่ เพศ สถานะการสมรส สถานะทาง
ครอบครัว อายุ ความพิการ รสนิยมทางเพศ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และการเป็นสมาชิกของชุมชน
ชาวเร่ร่อน ขอบเขตที่กว้างขวางเช่นนี้ทำให้กฎหมายดังกล่าวครอบคลุมไปถึงประเด็นว่าด้วยการเข้าถึง
การจ้างงาน การโฆษณาตำแหน่งงานว่าง การได้รับค่าจ้างที่เท่ากันจากงานที่มีมูลค่าเท่าเทียมกัน
การส่งเสริมโอกาส การทำข้อตกลงที่มีผลบังคับร่วมกัน การได้รับประสบการณ์ทำงานและ
การฝึกอบรมอาชีพ การเข้าถึงสินค้า เครื่องอำนวยความสะดวก หรือบริการใด ๆ ที่รัฐหรือเอกชน
เป็นคนจัดหาให้
RIA ต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อกลุ่มเปราะบาง
และกลุ่มที่มักถูกละเลยตามที่ระบุไว้ข้างต้น โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นนโยบายสำคัญ อีกทั้งต้องคำนึง
ถึงผลกระทบต่อบุคคลซึ่งมีประเด็นเชื่อมโยงกับการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้
กล่าวไว้แล้วในย่อหน้าก่อน ดังนั้น หน่วยงานที่จัดทำ RIA จึงต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบใน
ทางที่อาจก่อให้เกิดความยากไร้ หรือก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติที่เป็นเหตุให้เกิดความยากไร้ของ
นโยบายหรือกฎระเบียบนั้น หากปรากฏว่าผลกระทบภายใต้หัวข้อพิจารณาเหล่านี้มีอยู่อย่างมี
นัยสำคัญแล้ว หน่วยงานจำเป็นจะต้องเพิ่มระดับของการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนนี้ไว้ใน RIA ด้วย
ในส่วนขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบด้านความยากไร้นั้น ถูกกำหนดไว้
ในคู่มือโดยมีรายละเอียดดังนี้ 255
ขั้นตอนที่ 1 การคัดกรอง (Screening) ขั้นตอนนี้เป็นการรวบรวมข้อมูล
เพื่อตัดสินใจว่า ในการจัดทำ RIA นั้นจำเป็นจะต้องมีการทำการวิเคราะห์ผลกระทบด้านความยากไร้
อย่างเต็มรูปแบบหรือไม่ โดยควรมีการสรุปความโดยย่อของเนื้อหาหรือที่มาของข้อเสนอไว้ในชั้นนี้
ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำการวิเคราะห์ผลกระทบด้านความยากไร้อย่างเต็ม
รูปแบบ
๏ การรับฟังความคิดเห็น
๏ การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบายและกลุ่มเป้าหมาย
๏ ระบุถึงข้อมูลและงานวิจัยที่สามารถนำมาใช้ได้
๏ ประเมินผลกระทบและพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ
๏ ตัดสินใจและจัดวางกระบวนการติดตามตรวจสอบ
255 ibid 95.
สถาบันพระปกเกล้า
156