Page 173 - kpiebook65010
P. 173
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
๏ บิดามารดาที่ถูกกีดกันไม่ให้พบกับบุตร สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อ
ให้มีมาตรการบังคับให้อีกฝ่ายปฏิบัติตามคำสั่งที่อนุญาตให้พบกับเด็ก
อย่างถูกต้อง
๏ ปู่ย่าตายายและญาติย่อมมีความพร้อมที่จะรักษาความสัมพันธ์กับเด็ก
มากขึ้น เนื่องจากสามารถระบุถึงความสัมพันธ์ตามกฎหมายระหว่าง
กันได้อย่างชัดเจน
ค) ผลกระทบ
คาดหมายว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบในทางบวกกับกลุ่ม
ที่ถูกละเลยในสังคมและกลุ่มเปราะบาง เช่น ทำให้เกิดสิทธิในการรับรองให้บุคคลเรียกร้องเกี่ยวกับ
ความปกครองเหนือตัวเด็กได้ หากปรากฏว่าบุคคลนั้นได้ทำหน้าที่รับผิดชอบอย่างบิดามารดาต่อ
เด็กคนนั้นมาเป็นเวลากว่า 12 เดือน โดยที่เด็กไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอื่นที่ประสงค์จะถือ
สิทธิและความรับผิดชอบในฐานะผู้ปกครองของเด็ก บทบัญญัติเช่นนี้จะทำให้ปู่ย่าตายายสามารถ
มีสิทธิตามกฎหมายต่อบุตรหลานของตนได้ในกรณีที่บิดามารดาทิ้งเด็กไว้ในความดูแลของ
ปู่ย่าตายาย และไม่สามารถมาทำหน้าที่ดูแลบุตรของตนได้
นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติที่อนุญาตให้บิดามารดาแต่งตั้งบุคคลให้ทำ
หน้าที่ผู้ปกครองชั่วคราวเพื่อรับผิดชอบการดูแลเด็กในระหว่างที่บิดามารดาเจ็บป่วยอย่างร้ายแรง
มาตรการนี้ทำให้บิดามารดามั่นใจได้ว่า การตัดสินใจที่เกี่ยวเนื่องกับบุตรของตนนั้นจะยังมีได้แม้ใน
สถานการณ์ที่บิดามารดาไม่อาจทำหน้าที่ได้ โดยในกรณีนี้ กฎหมายกำหนดให้ต้องแจ้งการแต่งตั้ง
ผู้ปกครองชั่วคราวนั้นต่อ Tusla ซึ่งเป็นหน่วยงานคุ้มครองเด็กและครอบครัวด้วย
ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ก่อให้เกิดภาระในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย
และไม่มีผลกระทบต่อ (1) ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (2) ระบบเศรษฐกิจซึ่งรวมถึง
ต่อผู้บริโภคและการแข่งขัน (3) สิ่งแวดล้อม และ (4) ความสัมพันธ์กับสหราชอาณาจักรและ
ไอร์แลนด์เหนือ อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ย่อมทำให้ประเทศไอร์แลนด์ได้รับ
ความชื่นชมจากสังคมระหว่างประเทศในฐานะที่ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดหลักของกฎหมาย
ครอบครัวให้มีความทันสมัย สามารถตอบสนองความหลากหลายในเชิงรูปแบบของครอบครัว
สมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
สถาบันพระปกเกล้า
161