Page 165 - kpiebook65010
P. 165
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
โดยสรุปแล้ว RIA ส่วนมากจะนำเอาวิธีการวิเคราะห์แบบ MCA ไปใช้
ในขณะที่บางส่วนอาจใช้วิธีการวิเคราะห์แบบ Cost-Benefit หรือ Cost Effectiveness ซึ่งในเมื่อ
ข้อเสนอเพื่อการออกกฎระเบียบนั้นจำเป็นต้องมีการจัดทำ RIA โดยละเอียด ดังนั้น การวิเคราะห์
จึงควรใช้แนวทางการการให้น้ำหนักแบบ MCA โดยใช้วิธีการแบบ Cost-Benefit ประกอบกัน
ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ข) การวิเคราะห์แบบ Cost-Benefit Analysis (CBA) 250
แนวคิดหลักของวิธีการแบบ CBA คือ การพยายามกำหนดค่าของต้นทุน
และผลประโยชน์ให้เป็นจำนวนเงิน ซึ่งในเมื่อมูลค่าที่เกี่ยวข้องได้ถูกกำหนดเป็นจำนวนเงินแล้ว
ย่อมทำให้ข้อเสนอในเชิงนโยบายนั้นมีความคุ้มค่าอย่างเห็นได้ชัด หากจำนวนเงินที่เป็น
ผลประโยชน์มีมากกว่าต้นทุน นอกจากนี้ ในกรณีที่ต้องเลือกระหว่างทางเลือกในการดำเนินการ
ที่แตกต่างกัน จำนวนเงินย่อมเป็นข้อเปรียบเทียบที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อแปลงเป็นค่าสุทธิ
ที่เป็นปัจจุบันแล้ว (Net Present Value) โดยพิจารณาประกอบกับอัตราการลดค่า (discount
rate) ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่สำคัญของวิธีการนี้ คือ ค่าของต้นทุนหรือผลประโยชน์
หลายประการก็ไม่สามารถที่จะกำหนดเป็นจำนวนเงินได้ง่ายนัก ทั้งนี้ ในการออกกฎระเบียบเรื่องที่
มีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญ หน่วยงานที่เสนอกฎระเบียบนั้นจะถูกบังคับให้ต้องใช้การวิเคราะห์
แบบ CBA มาประกอบด้วยเสมอ
การหามูลค่าของต้นทุนและผลประโยชน์นั้น นอกจากการปรับลดค่าที่ได้
เพื่อดูมูลค่าที่แท้จริงแล้ว ยังมีปัจจัยประการอื่นที่ต้องคำนึงถึงประกอบด้วย ได้แก่ 251
๏ ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน (Risk and Uncertainty) ในโลก
แห่งความเป็นจริงนั้น การจะคาดเดาถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดในอนาคต
จากนโยบายที่ยังไม่ได้ถูกนำไปบังคับใช้นั้นแทบจะเรียกได้ว่าเป็นไปไม่ได้
เนื่องจากผลลัพธ์ทั้งหลายย่อมขึ้นอยู่กับเหตุการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
ซึ่งหลายเหตุการณ์ก็อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้กำหนดนโยบาย
ดังนั้น เนื้อหาของ RIA รวมทั้งวิธีการทั้งหลายที่นำมาใช้เพื่อกำหนด
เนื้อหาของ RIA นั้น จำเป็นจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอน
เหล่านี้ ด้วยการนำเอาปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
250 ibid 24-25
251 ibid 25.
สถาบันพระปกเกล้า
153