Page 166 - kpiebook65010
P. 166

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                                      ในอนาคตมาพิจารณาประกอบเสมอ การกะประมาณมูลค่าของต้นทุน
                                      และผลประโยชน์นั้นควรได้มีการคำนวณบนพื้นฐานของเหตุการณ์

                                      ในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นแตกต่างกันไปหลายลักษณะตามวิธีการแบบ
                                      sensitivity analysis หรือโดยการวิเคราะห์ตามสถานการณ์

                                      (scenario analysis) หรือโดยการกำหนดช่วงของมูลค่าต้นทุนหรือ
                                      ผลประโยชน์เอาไว้ เป็นต้น

                                    ๏  Deadweight and Displacement ค่า deadweight ผลลัพธ์ที่จะ

                                      เกิดขึ้นอยู่ดีไม่ว่าจะมีการใช้มาตรการดังกล่าวหรือไม่ จึงไม่อาจนำเอา
                                      มาคิดเป็นต้นทุนหรือผลประโยชน์เฉพาะของทางเลือกนั้นได้ ส่วนค่า

                                      displacement เป็นกรณีที่ผลในทางบวกของการดำเนินโครงการ
                                      หนึ่งทำให้เกิดผลในทางลบในส่วนอื่น การคิดผลประโยชน์สุทธิจึงต้อง
                                      นำเอาค่า displacement ไปหักออกจากผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นด้วย


                                    ๏  มูลค่าชีวิตเชิงสถิติ (Value of Statistical Life: VSL) หมายถึง
                                      มูลค่าที่กำหนดให้กับชีวิตของมนุษย์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการ

                                      วิเคราะห์เปรียบเทียบบางอย่าง การคิดค่านี้โดนปกติจะพิจารณาจาก
                                      ความประสงค์ของบุคคลที่จะใช้จ่ายเพื่อการมีสุขภาพที่ดี (หรือเพื่อลด
                                      ผลร้ายจากการที่สุขภาพไม่ดี) แต่ก็อาจหาค่าเช่นว่านี้ได้จาก

                                      การพิจารณาว่าบุคคลได้เลือกที่จะใช้จ่ายในลักษณะใด เช่น เพื่อที่จะ
                                      หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุจากการขับรถนั้น บุคคลเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพื่อ

                                      ระบบถุงลมนิรภัยในรถในจำนวนเงินที่มากเพียงใด

                            ค) หลักการลดภาระในการบริหารจัดการ


                              ในภาคผนวกของคู่มือได้กล่าวถึงเนื้อหาว่าด้วยการคาดการณ์ถึงภาระที่จะ
               เกิดในทางบริหารจัดการตั้งแต่ก่อนที่จะได้มีการออกกฎระเบียบนั้น โดยวิธีการที่ระบุไว้นั้น
               ถูกพัฒนาขึ้นโดย Department of Enterprise, Trade and Innovation เพื่อใช้สะท้อนให้เห็นว่า

               ภาระในการบริหารจัดการซึ่งเกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายนั้นมีอยู่อย่างไร

                              ภาระในการบริหารจัดการ (administrative burdens) ถือเป็นต้นทุน

               ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ(compliance costs) ประเภทหนึ่ง เนื่องจากเมื่อมีการกำหนด

               กฎระเบียบขึ้น บุคคลหรือองค์กรธุรกิจย่อมมีภาระหน้าที่ในทางข้อมูลเกิดขึ้น (information

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     154
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171