Page 174 - kpiebook65010
P. 174
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
4.3 เนเธอร์แลนด์
4.3.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทำ RIA
แนวคิดการวิเคราะห์ผลกระทบล่วงหน้าก่อนการออกกฎหมายในเนเธอร์แลนด์
มีพัฒนาการมาอย่างยาวนานโดยอาจสืบย้อนไปได้ถึงช่วงปี 1987 และมีการปฏิรูปหลักการเรื่องนี้
258
ใหม่ในช่วงปี 1991-1992 เพื่อกระตุ้นระบบตลาด เพื่อลดระเบียบและกฎหมาย (deregulation)
และให้การทำ RIA มีคุณภาพมากขึ้นโดยมีการตั้งหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ดูแลการทำ RIA ต่อมา
ในปี 2002 รัฐบาลได้กำหนดให้การทำ RIA เป็นเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
โดยมีการจำแนกรูปแบบการวิเคราะห์ผลกระทบออกเป็นหลายลักษณะ เช่น การวิเคราะห์
ผลกระทบทางธุรกิจจากกฎหมาย (Business Impact Assessment) การวิเคราะห์ผลกระทบทาง
สิ่งแวดล้อมจากกฎหมาย (Environmental Impact Assessment) และการวิเคราะห์ต้นทุนและ
ผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis) เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน วิธีการ
และหลักการดำเนินการอย่างชัดเจนโดยเน้นการทำเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของ
รัฐหน่วยงานต่าง ๆ เป็นหลัก นอกจากนี้ในปี 2553 ได้มีรายงานการศึกษาของ OECD ที่ชี้
259
ให้เห็นข้อจำกัดของระบบการทำ RIA ในขณะนั้น เช่น รายงาน RIA ส่งมายังผู้มีอำนาจตัดสินใจ
ช้าเกินไป รวมทั้งกระบวนการปรึกษาหารือยังไม่มีความเหมาะสมเพียงพอ ขาดความโปร่งใส
รวมทั้งยังขาดการระบุวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ชัดเจน เป็นต้น 260
ในปี 2011 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จึงตัดสินใจยกระดับการวิเคราะห์ผลกระทบใหม่ให้มี
ความเป็นระบบภายใต้ชื่อระบบการวิเคราะห์ใหม่นี้ว่า “กรอบการประเมินเชิงบูรณาการ” หรือ
Integraal Afwegingskader (IAK)) (Integral Assessment Framework) โดยภายใต้ระบบใหม่
ได้มีการปฏิรูปกลไกการดำเนินการที่ซ้ำซ้อนกันให้เป็นระบบและมีการจัดทำระบบและขั้นตอน
การทำ RIA ภายใต้ระบบ IAK ที่ชัดเจนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ โดยจุดที่น่าสนใจ
261
ของระบบ IAK ที่มีการปรับปรุงนี้คือการรวบรวมเอาบรรดาประเด็นที่จะต้องพิจารณา (quality
258 The Evaluation Partnership (TEP) and Centre for European Policy Studies (CEPS), ‘Study on
Social Impact Assessment as a Tool for Mainstreaming Social Inclusion and Social Protection Concerns
in Public Policy in EU Member States– Annex to the Final Report’ (June 2010) 139.
259 OECD, “Ex Ante Regulatory Impact Assessment: Netherlands” (OECD 2020) 21.
260 OECD, Better Regulation in Europe: Netherlands (OECD 2010) 15-17.
261
Ex Ante Regulatory Impact Assessment: Netherlands (n 86) 6-7.
สถาบันพระปกเกล้า
162