Page 175 - kpiebook65010
P. 175

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               requirements) เพื่อทำ RIA ซึ่งแต่เดิมมีมากถึง 110 ข้อพิจารณา มาจัดกลุ่มและประมวลรวมเป็น
               ระบบให้เหลือ 18 ข้อพิจารณา (ปัจจุบันได้เพิ่มเป็น 22 ข้อพิจารณา ดังที่จะได้กล่าวต่อไป)

               ซึ่งหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่พิจารณาเมื่อจะต้องมีการนำเสนอข้อกฎหมายหรือนโยบายใหม่
                                                                                             262
               นอกจากนี้ในปี 2560 ได้มีการตั้งองค์กรในรูปคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ดูแล สนับสนุนและ

               พิจารณารายงาน RIA ได้แก่คณะกรรมการให้คำแนะนำด้านภาระจากการปฏิบัติตามกฎหมาย
               (Advisory Board on Regulatory Burden (Adviescollege toetsing regeldruk - ATR)) โดย
               องค์กรนี้มีหน้าที่หลักในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางในการออกแบบและวางแผนลดภาระ

               หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายตั้งแต่ในขั้นตอนก่อนการตรากฎหมาย ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ
               การปรึกษาหารือสาธารณะผ่านระบบ internet  เป็นต้น 263


                      ปัจจุบันเนเธอร์แลนด์ได้วางหลักเกณฑ์พื้นฐานของการทำ RIA ในกฎหมายลำดับรอง
               (decree) ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง โดยฉบับปัจจุบัน ได้แก่ Decree of the Prime
               Minister, Minister of General Affairs, of December 22, 2017, No. 3215945, (แก้ไข

               Regulatory Directions เพิ่มเติมครั้งที่ 10)  ซึ่งกฎหมายลำดับรองฉบับนี้วางหลักการรองรับ
                                                    264
               บทบัญญัติมาตรา 1 ของ Decree of the Prime Minister, Minister of General Affairs, of 18

               November 1992 establishing the Regulatory Indications (Government Gazette 1992,
                   265
               230)  โดยในระหว่างที่มีการจัดทำรายงานการศึกษาฉบับนี้เนเธอร์แลนด์กำลังจัดทำร่างกฎหมาย
               ลำดับรอง RIA ฉบับใหม่อยู่


                      หากพิจารณา RIA Decree 2017 จะพบว่ากฎหมายลำดับรองฉบับนี้วางหลักการเรื่อง
               แนวทางในการวางมาตรการควบคุม (regulation) ไว้หลายเรื่องอย่างและเอียด โดยในส่วนที่

               เกี่ยวกับการทำ RIA นั้น หากพิจารณาในข้อ 2.1 ของ RIA Decree 2017 จะพบหลักการทั่วไปใน
               การกำหนดมาตรการควบคุม (regulation) โดยมีหลักสำคัญว่าการตัดสินใจจะกำหนดมาตรการ
               ควบคุมนั้นจะทำได้เมื่อปรากฏว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการควบคุม (กฎ) โดยเหตุจำเป็นนั้น

               อาจพิจารณาจากการที่เครื่องมือที่จะใช้นั้นมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินการ
               ในขณะเดียวกันก็เป็นมาตรการที่ได้สัดส่วนในการนำไปแก้ปัญหา กล่าวคือ จะต้องมีความแน่นอนว่า

               มาตรการที่จะใช้จะต้องแก้ไขหรือลดปัญหาที่ต้องการจะแก้ไขได้ โดยให้พิจารณาจากต้นทุนหรือ


                    262   ibid 24.
                    263   ibid 24.
                    264   เข้าถึงได้จาก https://zoek.officielebekendmakingen.nl/stcrt-2017-69426.html
                    265   ต่อไปนี้จะเรียกว่า RIA Decree 2017


                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     163
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180