Page 179 - kpiebook65010
P. 179
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
4.3.3 แนวทางและวิธีการในการวิเคราะห์ผลกระทบ
ในส่วนของตัวอย่างแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบจะนำเสนอประเด็นหลัก
3 ประเด็น อันได้แก่ แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบ เงื่อนไขเชิงคุณภาพที่จะต้องพิจารณาและ
เครื่องมือที่จะต้องใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบ ซึ่งทั้งสามประเด็นนี้เป็นองค์ประกอบและขั้นตอน
สำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำ RIA ระยะที่ 2 ที่ได้กล่าวไปแล้ว
4.3.3.1 แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบ
การกำหนดแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบของเนเธอร์แลนด์มีลักษณะ
ทำนองเดียวกับแนวทางที่ European Commission และ OECD ใช้ โดยมีการกำหนดคำถามที่จะ
ต้องวิเคราะห์ขึ้นมา 7 ข้อ เรียกว่า IAK questions โดยกำหนดให้หน่วยงานผู้จัดทำ RIA มีหน้าที่
วิเคราะห์ผลกระทบโดยตอบคำถามเหล่านี้เพื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอร่างกฎหมายและ
คำอธิบายประกอบ โดยเสนอไปยัง Council of Ministers โดยมีคำถามที่จะต้องวิเคราะห์ดังนี้
272
1. เหตุใดจึงต้องมีการเสนอร่างกฎหมาย
2. บุคคลใดที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายนี้บ้าง
3. ปัญหาใดบ้างที่ทำให้ต้องมีการเสนอกฎหมายนี้
4. การนำเสนอข้อเสนอทางกฎหมายนี้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด
5. เหตุใดรัฐบาลจึงมีความชอบธรรมในการเข้ามากำหนดมาตรการแทรกแซง
ในเรื่องนี้
6. เครื่องมือใดที่มีความเหมาะสมที่สุดในการจัดการกับปัญหา
7. การใช้ร่างกฎหมายนี้จะส่งผลกระทบต่อประชาชน บริษัท รัฐ และสิ่งแวดล้อม
อย่างไรบ้าง
จากคำถามทั้ง 7 ข้อ ดังกล่าว จะเห็นว่าคำถาม 3 ข้อแรกเน้นไปที่การวิเคราะห์
ปัญหาที่รัฐบาลต้องการแก้ไข (problem analysis) จากนั้นคำถามข้อที่ 4 และ 5 จะเป็นคำถามที่
เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ในเชิงนโยบายและความชอบธรรมของรัฐในการเข้ามากำหนดมาตรการ
คำถามข้อที่ 6 เป็นส่วนที่เกี่ยวกับทางเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม เช่น จะเลือกใช้มาตรการเชิง
Ex Ante Regulatory Impact Assessment: Netherlands (n 86) 29-30.
272
สถาบันพระปกเกล้า
167