Page 201 - kpiebook65010
P. 201

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                      3) การวิเคราะห์ผลกระทบ ขั้นตอนนี้จะเป็นการพิจารณาว่า ทางเลือกที่กำหนดไว้นั้น
               จะก่อให้เกิดต้นทุนและผลตอบแทนเป็นประการใดบ้าง โดยพิจารณาว่าผู้ได้รับผลกระทบเป็นใคร

               (affected parties) ผลกระทบนั้นมีลักษณะอย่างไร และระดับของผลกระทบนั้นมีมากน้อย
               เพียงใด ซึ่งการพิจารณาระดับของผลกระทบนี้ให้พยายามตีมูลค่าเป็นเงินให้ได้มากที่สุด

               หากไม่สามารถทำได้ ให้ระบุถึงระดับของผลกระทบดังกล่าว (มาก ปานกลาง น้อย)

                      4) ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย เนื้อความในส่วนนี้เป็นการรวบรวมข้อคิดเห็นของ
               ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับปัญหาและมาตรการที่นำเสนอเพื่อแก้ปัญหานั้น


                      5) การปรับใช้และการบริหารจัดการ เป็นการอธิบายว่า มาตรการที่นำมาใช้นั้นจะเกิด
               ผลบังคับได้อย่างไร ต้องอาศัยกลไกทางการหมาย การสื่อสาร หรือกระบวนการเปลี่ยนผ่านอย่างไร

               บ้าง และเมื่อมีผลใช้บังคับจริงแล้ว ใครจะเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบกลไกกระบวนการเหล่านั้น
               บุคคลที่รับผิดชอบมีข้อกังวลประการใดหรือไม่ รวมไปถึงปัญหาที่ว่าหากมีความเสี่ยงใด ๆ อยู่
               จะบริหารจัดการหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างไร


                      6) การติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และการทบทวน เป็นเนื้อหาที่ระบุถึงวิธีการ
               ที่ทำให้ทราบว่าผลกระทบที่คาดการณ์ไว้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ มีระบบที่ใช้สำหรับการติดตาม

               ตรวจสอบและประเมินผลอยู่แล้วหรือไม่ ถ้ามีอยู่แล้ว ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตรวจสอบและ
               ประมวลผลได้ถูกจัดเก็บไว้แล้วหรือไม่ หรือมีข้อมูลอื่นใดที่ต้องจัดเก็บเพิ่มเติม นอกจากนี้แล้ว

               กระบวนการที่นำมาใช้นี้จะมีการตรวจสอบทบทวนเมื่อไหร่ ด้วยวิธีการอย่างไร

               4.4.3   แนวทางและวิธีการในการวิเคราะห์ผลกระทบ

                      รัฐบาลได้จัดทำแบบฟอร์มสำหรับเนื้อหาของ RIA เอาไว้ โดยกระทรวงการคลังเป็น

               ผู้รับผิดชอบในการแยกประเภทของแบบฟอร์มตามลักษณะของเรื่องเอาไว้ให้เหมาะสมและ
               เผยแพร่แบบฟอร์มเหล่านั้นไว้บนเว็บไซต์ของกระทรวงการคลัง ซึ่งหน่วยงานจะต้องนำเสนอ RIA

               ตามแบบฟอร์มที่กระทรวงการคลังกำหนดให้โดยพิจารณาจากข้อมูลที่หน่วยงานนั้นจำแนกไปตาม
               ขั้นตอนและลักษณะเฉพาะของข้อเสนอด้านนโยบายเกี่ยวกับกฎหมายระเบียบเรื่องนั้น  เว้นแต่
                                                                                       299
               จะได้ตกลงกันเป็นรายกรณีไปว่า หน่วยงานของรัฐจะได้จัดทำ RIA โดยใช้รูปแบบอื่นนอกจากแบบ



                    299   ตัวอย่างของแบบฟอร์มที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ดู Treasury of New Zealand, ‘Impact Analysis
               Requirements for Regulatory Proposals’ <www.treasury.govt.nz/information-and-services/regulation/
               impact-analysis-requirements-regulatory-proposals>เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.



                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     189
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206