Page 202 - kpiebook65010
P. 202
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
300
ฟอร์มที่กำหนดไว้
RIA ทุกฉบับจะต้องมีการประเมินคุณภาพโดยผู้ประเมินคุณภาพที่เป็นอิสระ ซึ่งอาจเป็น
ผู้ประเมินคุณภาพที่หน่วยงานของรัฐจัดหามาเอง หรือเป็นการประเมินคุณภาพโดยหน่วยงาน
ที่เรียกว่า Regulatory Quality Team ของกระทรวงการคลังก็ได้ตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลัง
กำหนดไว้โดยจำแนกตามขั้นตอนขั้นตอนและลักษณะเฉพาะของข้อเสนอด้านนโยบายเกี่ยวกับ
กฎหมายระเบียบเรื่องนั้น โดยหากเป็นกรณีที่หน่วยงานจัดหาเอง บุคคลที่หน่วยงานจัดหามา
จะต้องไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดทำหรือจัดเตรียมข้อมูลสำหรับ RIA นั้น ทั้งนี้ ข้อความ
ในส่วนของการประเมินโดยผู้ประเมินคุณภาพนั้นจะต้องถูกจัดไว้เป็นส่วนหนึ่งในเอกสารที่นำเสนอ
301
ต่อคณะรัฐมนตรีด้วย
สำหรับเอกสารที่เป็นคู่มือแนะนำเทคนิคและวิธีการที่หน่วยงานของรัฐจะนำมาใช้เพื่อ
วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการออกกฎระเบียบนั้น ได้แก่ คู่มือที่จัดทำโดยกระทรวงการคลัง
สองฉบับ คือ Guidance Note Best Practice Impact Analysis ฉบับปี 2017 และ Guide to
Social Cost Benefit Analysis ฉบับปี 2015 โดยมีข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้เพื่อ
การวิเคราะห์ผลกระทบจากการออกกฎระเบียบที่น่าสนใจ ดังนี้
4.4.3.1 กรอบความคิดในการวิเคราะห์ผลกระทบจากออกกฎระเบียบ
ในขั้นตอนของจัดทำ RIA นั้น คู่มือการดำเนินการของกระทรวงการคลัง
ได้แนะนำให้เริ่มต้นจากการวิเคราะห์สถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (status quo) เพื่อใช้เป็น
ข้อเท็จจริงพื้นฐานเพื่อเปรียบเทียบผลที่จะเปลี่ยนแปลงไป (counter-factual) ตามด้วย
302
การกำหนดปัญหาและระดับความมีอยู่ของปัญหา (define the problem and assess
its magnitude) ในชั้นนี้เองที่หน่วยงานต้องเริ่มมีการนำเอาเทคนิคในการกำหนดมูลค่ามาใช้
ด้วยการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ เพื่อให้ทราบถึงขนาดของปัญหาในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งควร
303
พยายามกำหนดมูลค่าที่เป็นเงินให้กับต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
จากนั้นจึงไปสู่ขั้นตอนของการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งได้แก่ ผลลัพธ์หรือ
300 Impact Analysis Requirements (n 123) 8.
301 ibid 8-9.
302 Treasury of New Zealand, Guidance Note: Best Practice Impact Analysis (New Zealand
Government 2017) 4-5.
303 ibid 6-8.
สถาบันพระปกเกล้า
190