Page 200 - kpiebook65010
P. 200
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
2) กระบวนการเริ่มต้น ได้แก่ การค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการกำหนดปัญหาและ
ทางเลือกที่เกี่ยวข้อง
3) การพิจารณาข้อยกเว้นในการจัดทำ Regulatory Impact Statement
เนื่องจากการเสนอกฎหมายในบางกรณีอาจมีข้อยกเว้นให้ไม่ต้องจัดทำ Regulatory Impact
Statement โดยหากปรากฏว่าร่างกฎหมายและร่างกฎหมายลำดับรองนั้นจะไม่ส่งผลกระทบหรือ
ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อภาคธุรกิจ ประชาชนและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือกรณี
เข้าข้อยกเว้นด้วยเหตุผลทางเทคนิคหรือกรณีที่กระทรวงการคลังเห็นว่าไม่ต้องทำ
4) การยืนยันกระบวนการจัดทำ Regulatory Impact Statement เป็น
กระบวนการเพื่อตรวจสอบยืนยันรูปแบบที่ใช้ในการจัดทำ Regulatory Impact Statement และ
กำหนดหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ (quality assurance)
5) ประเมินเงื่อนไขในการจัดทำ Climate Implications of Policy Assessment
(CIPA)
6) การจัดทำ Regulatory Impact Statement
7) กระบวนการตรวจสอบคุณภาพรายงาน (quality assurance arrangements)
8) การเตรียมเอกสารสำหรับคณะรัฐมนตรี
9) การดำเนินการในกรณีที่ข้อเสนอทางกฎหมายนั้นยังไม่มีการวิเคราะห์ผลกระทบ
ในระดับที่น่าพอใจ
10) การจัดพิมพ์เผยแพร่
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากการจัดวางเนื้อหาของข้อมูลใน Regulatory Impact
Statement อาจสามารถกำหนดลำดับของประเด็นในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบได้
298
ดังนี้
1) การกำหนดปัญหาและการระบุถึงวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2) การระบุถึงทางเลือกที่ใช้สำหรับการจัดการปัญหา ในชั้นนี้จะเป็นการอธิบายถึงทาง
เลือกที่มี และใช้เกณฑ์บางประการที่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้มาเป็นข้อพิจารณาใน
การกำหนดว่าทางเลือกใดเป็นทางเลือกที่ควรนำมาใช้มากที่สุด
298 Treasury of New Zealand, ‘Full Impact Statement Template’ <www.treasury.govt.nz/sites/
default/files/2019-12/full-impact-statement-template-dec2019.docx> เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.
สถาบันพระปกเกล้า
188