Page 203 - kpiebook65010
P. 203
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
เป้าหมายที่คาดหวังจะให้เกิดในส่วนที่เชื่อมโยงกับปัญหาที่ได้อธิบายเอาไว้ ทั้งนี้ การอธิบาย
วัตถุประสงค์ในชั้นนี้ควรมุ่งเน้นการกล่าวถึงสิ่งที่ปรารถนาจะให้เกิดขึ้นโดยไม่กำหนดถึงวิธีการใด
วิธีการหนึ่งไว้อย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อที่จะทำให้การกำหนดทางเลือกในขั้นต่อไปนั้นสามารถทำได้
อย่างหลากหลายมากที่สุด 304
ในชั้นของการกำหนดทางเลือกนั้น ควรเริ่มต้นจากการพิจารณาทางเลือก
ในการดำเนินการที่เป็นไปได้ทั้งหมด ทั้งทางเลือกที่เป็นการคงสถานะของเรื่องไว้เช่นเดิม (ทางเลือก
ที่จะไม่ดำเนินการใด ๆ ) ทางเลือกที่เป็นการออกกฎระเบียบ และทางเลือกที่ไม่ใช่การออก
กฎระเบียบ ทั้งนี้ หน่วยงานไม่จำเป็นต้องอธิบายถึงทางเลือกทุกประการ แต่ควรใช้ความพยายาม
ตามสมควรในการที่จะจำกัดทางเลือกเหล่านั้นให้อยู่ในวงที่จำกัด เพื่อที่จะได้ใช้เวลาและทรัพยากร
ในการวิเคราะห์ข้อมูลไปกับทางเลือกที่น่าจะให้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ตอบแทนซึ่งคุ้มค่าที่สุดเป็น
สำคัญ ทั้งนี้ หน่วยงานต้องกำหนดเกณฑ์ที่ใช้สำหรับการพิจารณากำหนดทางเลือกที่นอกเหนือ
ไปจากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์เพิ่มเติมเอาไว้ด้วย โดยสามารถกำหนดทางเลือก
ที่คาดว่าจะนำมาใช้ (preferred option) รวมไปถึงทางเลือกในลำดับรองลงมาไว้ได้ ซึ่งอาจนำ
วิธีการวิเคราะห์แบบ Multi Criteria Analysis (MCA) มาใช้เพื่อคัดเลือกกลุ่มของทางเลือก
ซึ่งจะถูกนำไปพิจารณาด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบ Cost-Benefit Analysis (CBA) อย่างเต็มรูปแบบ
ในขั้นตอนต่อไป 305
หลังจากกำหนดกรอบของทางเลือกที่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนถัดไป
คือการวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์ และความเสี่ยงของทางเลือกแต่ละทาง บทวิเคราะห์ในส่วนนี้
ต้องแสดงให้เห็นว่าทางเลือกในการดำเนินการแต่ละทางนั้นจะทำให้สถานการณ์ที่เป็นอยู่
เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และในบรรดาทางเลือกเหล่านั้น ทางเลือกใดเป็นทางเลือก
ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการแก้ปัญหา หรือทางเลือกใดที่ให้ผลประโยชน์สุทธิมากที่สุด
ซึ่งการวิเคราะห์ในชั้นนี้ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการตัดสินใจว่าควรจะมีกฎหมายหรือ
กฎระเบียบเพื่อบังคับในเรื่องนั้นหรือไม่ หากจำเป็นต้องมีเนื้อหาควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งปัญหาที่ต้อง
พิจารณาเพื่อหาคำตอบได้แก่ 306
304 ibid 8.
305 ibid 9-11.
306 ibid 12.
สถาบันพระปกเกล้า
191