Page 212 - kpiebook65010
P. 212
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
๏ การเข้าถึงได้ (accessibility) : กระบวนการต้องทำความเข้าใจได้โดยง่าย
และไม่ยากต่อการเข้าถึง
๏ บูรณภาพ (integrity) :ระบบของข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดต้องมีความถูกต้อง
และมีมาตรการคุ้มครองไม่ให้มีใช้ระบบที่สร้างขึ้นไปในทางที่ไม่ชอบด้วย
กฎหมาย (เช่น การระบุตัวตนโดยมีเจตนาเพื่อการหลอกลวง เป็นต้น)
๏ ความคุ้มทุน (cost) : ลดต้นทุนและเวลาที่บุคคลและรัฐต้องเสียไปเพื่อ
ดำเนินการในประเด็นนี้
4.4.4.3 ทางเลือกที่ถูกตัดออกไป 318
ทางเลือกบางอย่างได้ถูกตัดออกไป ไม่นำเอามาให้น้ำหนักตามวิธีการแบบ
MCA โดยทางเลือกเหล่านั้นได้แก่
๏ กระบวนการรูปแบบอื่นนอกจากการระบุด้วยตัวตนเอง
๏ การปรับปรุงกระบวนการที่มีอยู่เดิม เนื่องจากได้เคยมีการดำเนินการ
ไว้แล้วโดยคณะทำงานที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวยอมรับว่า
ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงในประเด็นที่สำคัญได้
๏ การกำหนดเพศทางเลือกอื่นแยกต่างหากในใบรับรองการเกิด และ
๏ การยกเลิกการระบุข้อมูลเกี่ยวกับเพศไว้ในใบรับรองการเกิด
เนื่องจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีเพียงแค่บุคคลจะทำให้เพศวิถีของตน
ได้รับการยอมรับและบันทึกไว้ในทะเบียนการเกิดได้อย่างไร ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้เพศวิถีของคน
ได้ตั้งแต่เวลาเกิด ดังนั้น การจดทะเบียนแรกเกิดโดยยึดตามเพศสภาพจึงยังคงอยู่เช่นเดิมและไม่ถูก
นำมาพิจารณาในกระบวนการปรับปรุงกฎหมายครั้งนี้
ทางเลือกอีกประการ คือ การยังคงกระบวนการอยู่กับศาลครอบครัวเช่นเดิม
โดยยกเลิกเงื่อนไขพิจารณาเกี่ยวกับเอกสารทางการแพทย์ ซึ่งจะทำให้ศาลสามารถประกาศถึงสิทธิ
ของผู้ร้องได้รวดเร็วขึ้น ทางเลือกนี้ไม่ถูกนำมาพิจารณาเนื่องจากว่า หากไม่ต้องมีการยื่นเอกสาร
ทางการแพทย์แล้ว ย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ศาลครอบครัวเป็นผู้พิจารณาคำร้องนี้อีกต่อไป
318 ibid, paragraphs 41-43.
สถาบันพระปกเกล้า
200