Page 209 - kpiebook65010
P. 209
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
4.4.3.5 การประเมินความเสี่ยง 311
RIA จำเป็นจะต้องมีนำเสนอการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นควบคู่กับ
ข้อสรุปของหน่วยงานในส่วนของคุณค่าที่จะเกิดขึ้นและผลประโยชน์สุทธิของทางเลือกแต่ละทาง
(ดูตัวอย่างตารางที่ 3) โดยการกล่าวถึงความเสี่ยงในที่นี้ควรแสดงให้เห็นว่าทางเลือกแต่ละทางนั้น
มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์อันไม่แน่นอนในอนาคตอย่างไรบ้าง ในที่นี้ ควรนำเอา
วิธีการวิเคราะห์แบบ sensitivity analysis หรือ scenario analysis มาแสดงประกอบไว้ให้เห็น
ในรายงานด้วย และสำหรับต้นทุนและผลประโยชน์ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้นั้น ควรมีคำอธิบาย
ในเชิงคุณภาพถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ในอนาคตประกอบมาด้วย
การระบุถึงความเสี่ยงควรจะได้จำแนกออกตามกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถ
นำอาต้นทุนหรือผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือต้นทุนและ
ผลประโยชน์ประการอื่นที่คาดหมายได้ว่าจะมีขึ้นจริงมาพิจารณาประกอบกัน อย่างไรก็ตาม
ด้วยปัจจัยของความไม่แน่นอนนั้น ทำให้การประมาณการความเป็นไปได้บางอย่างย่อมไม่อาจ
ทำให้เกิดความชัดเจนได้ ในกรณีเช่นนี้ ควรประเมินความเสี่ยงด้วยการอ้างอิงจากสถานการณ์ที่ดี
ที่สุด หรือเลวร้ายที่สุด (best-case, worst-case scenario analysis) พร้อมกับให้ข้อสังเกต
เกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดสถานการณ์ขั้นสุดเช่นนั้นเอาไว้
ตารางที่ 3 ตัวอย่างแบบนำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบที่มีการระบุถึงความเสี่ยงประกอบไว้ด้วย
ความเสี่ยงและผลที่อาจเกิดขึ้น
ผู้ได้รับผลกระทบ ผลประโยชน์ ต้นทุน ผลกระทบสุทธิ
ต่อผลกระทบที่ประเมินไว้
กลุ่มที่ 1 + - +/-
กลุ่มที่ 2 + - +/-
กลุ่มที่ 3 ,ฯลฯ + - +/-
ผลรวม
4.4.3.6 ข้อแนะนำเกี่ยวกับเครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ
นอกจากข้อแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
ของกฎหมายตามที่ปรากฏใน Guidance Note Best Practice Impact Analysis 2017 แล้ว
คู่มือที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องมือที่นำมาใช้วิเคราะห์เพื่อจัดทำ RIA ที่สำคัญอีกฉบับหนึ่ง คือ
ibid 16.
311
สถาบันพระปกเกล้า
197