Page 208 - kpiebook65010
P. 208
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
การกำหนดปริมาณ (quantification) จะช่วยให้สามารถหาต้นทุนและ
ผลประโยชน์ของทางเลือกหนึ่งได้ และทำให้สามารถนำเอาข้อมูลนั้นไปใช้เพื่อการกำหนด
สมมติฐานหรือตัดสินใจในประเด็นใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแปลงค่า
เป็นเงิน (monetization) จะทำให้สามารถนำเอาทางเลือกหลายประการที่มีอยู่มาเปรียบเทียบกัน
และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการคิดต้นทุนหรือผลประโยชน์ซ้ำซ้อนด้วยการใช้ตัวฐานในการวิเคราะห์
ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม การกำหนดปริมาณและการแปลงค่าเป็นเงินนั้นอาจไม่สามารถทำได้ในทุก
กรณี หากเกิดสถานการณ์ดังกล่าวขึ้น ผู้จัดทำรายงานจะต้องพยายามนำเอาการวิเคราะห์แบบ
CBA มาใช้ในการอธิบายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการอ้างอิงถึงหลักฐานในลักษณะข้อมูล
เชิงคุณภาพ (qualitative evidence)
การประเมินค่าไม่ว่าจะด้วยวิธีการเชิงปริมาณหรือคุณภาพก็ตาม ควรต้องทำ
บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สามารถระบุแหล่งที่มาของข้อมูลและ
ข้อสมมติฐานได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ข้อมูลเชิงคุณภาพถูกตัดสินว่ามีน้ำหนัก
เหนือกว่าต้นทุนที่ถูกกำหนดเป็นจำนวนเงินไว้ จะต้องมีการอธิบายให้ทราบถึงเหตุผลที่เป็นฐาน
ของการตัดสินใจเช่นว่านี้ด้วย เป็นต้น ซึ่งการหาค่าผลกระทบสุทธิ (Net impacts) อาจไม่สามารถ
ระบุเป็นจำนวนเงินได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ผลกระทบในภาพรวมนั้นอาจทำได้ด้วย
การสรุปจากค่าผลประโยชน์สุทธิ (หรือต้นทุนสุทธิ) ของมาตรการแต่ละทางเลือก โดยการหาค่า
ความแตกต่างระหว่างต้นทุนรวมกับผลประโยชน์รวมนั่นเอง
ในกรณีที่ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากทางเลือกหนึ่งมีลักษณะที่ต่อ
เนื่องไปเป็นเวลาหลายปี ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนค่าให้มีลักษณะเป็นมูลค่าสุทธิที่เป็นปัจจุบัน
(Net Present Value :NPV) โดยการปรับอัตราค่าตามตัวเลขไปเป็นค่าที่แท้จริงโดยหักส่วนลด
ต่าง ๆ ตามสูตรการคำนวณแล้ว
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งเมื่อต้องประเมินมูลค่าสุทธิของแต่ละทางเลือก คือ
การระมัดระวังไม่ให้เกิดการนับซ้ำ (double counting) ขึ้น จะสังเกตได้ว่า ต้นทุนบางประการ
ที่ผู้ประกอบธุรกิจแบกรับนั้นในที่สุดแล้วจะมีการส่งต่อต้นทุนเหล่านั้นไปยังผู้บริโภค แต่ในการคิด
คำนวณผลกระทบที่เกิดขึ้นตามหลัก CBA นั้นต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจเป็น
ลำดับแรก มากกว่าจะนำเอาผลกระทบลำดับรองที่เกิดกับผู้บริโภคมาพิจารณา โดยในภาระ
ที่เกิดกับผู้บริโภคนั้น ไม่ควรนำไปรวมในหัวข้อผลกระทบต่อธุรกิต แต่ควรได้แยกไปกล่าวถึง
ต่างหากในส่วนที่ว่าด้วยการโอนและการกระจายของผลกระทบที่เกิดขึ้น
สถาบันพระปกเกล้า
196