Page 236 - kpiebook65010
P. 236
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. 2562 รวมถึงแนวทางและคู่มือที่เกี่ยวข้องก็ตาม แต่ด้วยเนื้อหาที่จัดทำขึ้นนั้น
มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งยังปรากฏแนวคิดและวิธีการในการวิเคราะห์
ผลกระทบของกฎหมายบางประการที่อาจไม่ได้พบเห็นในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของ
กฎหมายที่เสนอโดยหน่วยงานของประเทศไทยมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายหลักของงานวิจัย
ที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างของแนวคิดและวิธีการที่จะนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบใน
การออกกฎหมายเป็นสำคัญ จึงได้หยิบยกเอารายงานฉบับนี้มาใช้เป็นกรณีศึกษา
5.2.1.2. การวิเคราะห์ทางเลือก
เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางการจัดทำ RIA ที่พบเห็นได้ในต่างประเทศซึ่งได้กล่าวถึงไว้ใน
บทที่ 4 แล้ว ข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่ง คือ RIA Handbook ของประเทศไทยนั้น ไม่ได้
กำหนดให้หน่วยงานจะต้องแสดงถึง “ทางเลือก” ในการดำเนินการและวิเคราะห์ผลกระทบของ
ทางเลือกเหล่านั้นไว้เป็นหัวข้อเฉพาะเจาะจงแต่ประการใด หัวข้อที่ดูจะใกล้เคียงกับเนื้อหาดังกล่าว
ที่สุด คงจะเป็นหัวข้อที่ 3. “การแก้ปัญหาในปัจจุบัน” ซึ่งกำหนดไว้เพื่อให้หน่วยงานที่เสนอ
กฎหมายนั้น “ตรวจสอบว่าในปัจจุบันมีวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้มาตรการทางกฎหมายหรือวิธีการ
อื่นที่ไม่ใช่กฎหมายหรือไม่ และตรวจสอบด้วยว่าวิธีการดังกล่าวมีประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไร
ทั้งนี้ เพื่อประกอบการพิจารณาการตรวจสอบความจำเป็นของกฎหมายตามมาตรา 12” โดยมี
ข้อแนะนำในการตอบดังนี้ 361
๏ ให้ระบุว่า ในปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชนแก้ปัญหาด้วยวิธีใดบ้าง (วิธีที่
เป็นกฎหมายและไม่ใช่กฎหมาย) และการดำเนินการนั้นมีประสิทธิภาพ
หรือไม่ อย่างไร
๏ ยังสามารถใช้มาตรการหรือวิธีการอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายในการแก้ปัญหา
หรือไม่
๏ การอธิบายในหัวข้อนี้ ควรอธิบายด้วยว่าการแก้ปัญหาด้วยมาตรการทาง
เลือกอื่นที่ไม่ใช่การตรากฎหมายได้ผลอย่างไร และมีอุปสรรคหรือข้อจำกัด
อย่างไรบ้าง
361 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, “การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” <www.
krisdika.go.th/article77> เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.
สถาบันพระปกเกล้า
224