Page 232 - kpiebook65010
P. 232
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
3. การพิจารณาความได้สัดส่วนของขอบเขต ความลึกและระดับความสำคัญ
ของผลกระทบ ในประเด็นนี้ เสนอว่า ขอบเขต (scope) และความลึก
(depth) ของการวิเคราะห์จะต้องได้สัดส่วนและสอดคล้องกับระดับ
ความสำคัญและประเภทของข้อเสนอกฎหมายที่จะทำการวิเคราะห์ และ
สอดคล้องกับระดับความสำคัญของผลกระทบด้วย
4. การกำหนดและพิจารณาผลกระทบสำคัญ ในประเด็นนี้ เสนอว่า
ควรพิจารณาบรรดาผลกระทบทุกด้านที่สำคัญโดยยังไม่จำเป็นต้องคำนึงว่า
จะสามารถวิเคราะห์ผลกระทบนั้นโดยละเอียดได้หรือไม่
5. ผลกระทบทางอ้อม ในประเด็นนี้ เสนอว่า หากมีผลกระทบทางอ้อม
(indirect impact) เกิดขึ้นก็ควรมีการวิเคราะห์ผลกระทบประเภทนี้ด้วย
ซึ่งอาจเป็นผลกระทบด้านบวกหรือด้านลบที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
6. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ในประเด็นนี้ เสนอว่า การพิจารณาระดับของ
ผลกระทบ ควรพยายามตีมูลค่าเป็นเงิน (monetize) ให้ได้มากที่สุด
หากไม่สามารถทำได้ ให้ระบุถึงระดับของผลกระทบดังกล่าว (มาก
ปานกลาง น้อย) ไม่ควรใช้เหตุผลว่าผลกระทบด้านใดด้านหนึ่งไม่สามารถ
ตีค่าเป็นตัวเลขได้มาเป็นเหตุผลในการไม่คำนึงถึงผลกระทบเรื่องนั้น
7. การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ในประเด็นนี้ เสนอว่า กรณีที่ไม่สามารถ
วิเคราะห์ผลกระทบในเชิงปริมาณได้ ควรมีการวิเคราะห์ผลกระทบในเชิง
คุณภาพโดยควรเหตุผลด้วยว่าเหตุใดจึงไม่สามารถวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ
ได้ โดยควรวิเคราะห์เชิงคุณภาพอย่างรอบคอบและเคร่งครัดโดยให้
ความสำคัญกับการอธิบายว่าทางเลือกที่ทำการวิเคราะห์จะส่งผลในทาง
ปฏิบัติ (practical implication) ต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียอย่างไร
8. การวิเคราะห์นัยยะในด้านพฤติกรรม ในประเด็นนี้ เสนอว่า ควรคำนึงถึง
แนวโน้มพฤติกรรมของผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่จะมีการกำหนดขึ้น
ด้วย ว่าเขาเหล่านั้นจะมีความสมัครใจที่จะปฏิบัติตามมากน้อยเพียงใด
โดยให้ความสำคัญกับการกำหนดมาตรการที่สามารถปฏิบัติตามได้ง่าย
9. การแจกแจงและสรุปผลกระทบ ในประเด็นนี้ เสนอว่า ควรแจกแจงหรือ
สรุปบรรดาผลกระทบทางลบและทางบวกโดยแสดงระดับ ความเป็นไปได้
และบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบให้ชัดเจน
สถาบันพระปกเกล้า
220