Page 238 - kpiebook65010
P. 238
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ข้อสังเกตที่สำคัญประการหนึ่งในการแสดงทางเลือกนั้น คือ ควรมีการระบุถึง
ทางเลือกที่มีแนวโน้มว่าจะนำมาใช้ (preferred option) ซึ่งจะเป็นข้อที่ช่วยแสดงให้เห็นว่า
หน่วยงานที่เสนอกฎหมายนั้นมีความโน้มเอียงต่อทางเลือกในข้อใด และความโน้มเอียงดังกล่าว
จะเป็นข้อที่ใช้พิสูจน์ได้ว่า การวิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ ที่หน่วยงานได้นำเสนอมา โดยเฉพาะ
ทางเลือกที่หน่วยงานไม่คิดจะนำมาใช้อยู่แล้วนั้น ได้กระทำมาในระดับที่เหมาะสมแล้วหรือไม่ เช่น
ในตัวอย่างของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบฉบับนี้ จะเห็นได้ว่า หน่วยงานมีความโน้มเอียง
ต่อข้อเสนอในทางเลือกที่ 3 คือ การออกกฎหมายอย่างชัดเจน ทำให้มีแนวโน้มที่จะกล่าวถึงข้อดี
ของทางเลือกประการที่ 3 เป็นพิเศษ และไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายละเอียดของทางเลือกที่ 1
และ 2 มากนัก
ทั้งนี้ ในกรณีที่หน่วยงานได้แสดงว่ามีทางเลือกในการดำเนินการมากกว่า
1 ทางเลือกแล้ว ก็ควรที่จะได้มีการนำเอาวิธีการที่ใช้เพื่อการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของทาง
เลือกเหล่านั้นมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนว่ามาตรการใดมีความคุ้มค่ามากกว่ากัน และเป็น
การแสดงให้เห็นว่า การกำหนดมาตรการแทรกแซงของรัฐนั้น ได้กระทำขึ้นบนพื้นฐานของแนวคิด
ว่าด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidences based) ไม่ได้กำหนดขึ้นจากอคติของหน่วยงานเท่านั้น
ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ที่สามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบทางเลือกได้มีอยู่หลายประการ เช่น
(1) การนำเอากระบวนการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน (CBA) มาใช้เพื่อ
คำนวณหาต้นทุนและผลตอบแทนของแต่ละทางเลือก โดยแสดงให้เห็นว่า
ทางเลือกที่ 3 มีตัวเลขของความต่างระหว่างต้นทุนและผลตอบแทนที่ดี
กว่าทางเลือกที่ 1 และ 2 จึงควรเลือกดำเนินการตามทางเลือกที่ 3
ตัวอย่างเช่น
๏ ทางเลือกที่ 1 ไม่มีต้นทุนค่าดำเนินการเพิ่มจากเดิม แต่มีต้นทุน
ค่าเสียโอกาสจากประโยชน์ที่จะได้รับในการปรับปรุงการดำเนินการ
ให้ดีขึ้น (ตัวเลขสมมติ -200 ล้านบาท)
๏ ทางเลือกที่ 2 มีต้นทุนในค่าบริหารจัดการเพิ่มขึ้น มีผลตอบแทนจาก
การบริหารจัดการนั้น แต่ก็มีต้นทุนค่าเสียโอกาสในการที่ไม่ได้เลือกใช้
วิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุด (ตัวเลขสมมติ -100 ล้านบาท)
๏ ทางเลือกที่ 3 มีต้นทุนค่าใช้จ่ายมากที่สุดจากการจัดทำระบบใหม่
แต่มีผลตอบแทนทั้งการใช้บริการจากภาคเอกชน และการส่งเสริม
สถาบันพระปกเกล้า
226