Page 231 - kpiebook65010
P. 231
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
357
quality requirements) 22 ข้อหรือไม่ ซึ่งเป็นการบังคับให้การทำ RIA ต้องคำนึงถึงนโยบาย
แต่ละด้านที่สำคัญ ๆ เสมอ
ส่วนนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นประเทศนอกกลุ่ม EU แต่ก็เป็นสมาชิก OECD ซึ่งมีการพัฒนา
ระบบการทำ RIA ที่ค่อนข้างทันสมัยและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา โดยส่วนที่น่าสนใจคือการกำหนด
ให้มีการกลั่นกรองข้อเสนอกฎหมายและนโยบายที่มีระบบชัดเจน มีการกำหนดให้ต้องมีนำเสนอ
การประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นควบคู่กับข้อสรุปของหน่วยงานในส่วนของคุณค่าที่จะเกิดขึ้น
และผลประโยชน์สุทธิของทางเลือกแต่ละทาง รวมทั้งกำหนดให้ RIA ทุกฉบับจะต้องถูกประเมิน
คุณภาพโดยผู้ประเมินอิสระ 358
5.1.2 ข้อเสนอเบื้องต้นเพื่อพัฒนากระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบใน
ประเทศไทย
จากการศึกษาบทเรียนและแนวทางการดำเนินการของ EU และ 4 ประเทศ รวมทั้ง
การอภิปรายผลที่ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อก่อนนั้น อาจสรุปบทเรียนได้ว่าหากเปรียบเทียบกับ
การดำเนินการภายใต้ระบบของไทยในปัจจุบันแล้ว ไทยสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จาก
ต่างประเทศเพื่อพัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบจากการตรากฎหมายของไทยในหลาย
ประเด็นด้วยกัน โดยในหัวข้อนี้จะนำเสนอข้อเสนอเบื้องต้นว่ามีประเด็นเรื่องใดบ้างที่ควรมี
การพัฒนาแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบจากการตรากฎหมายของไทย โดยแบ่งข้อเสนอ
เป็นสองส่วน ได้แก่ข้อเสนอในส่วนที่เกี่ยวกับแนวทางการวิเคราะห์และในส่วนที่เกี่ยวกับเทคนิค
วิธีการวิเคราะห์
5.1.2.1 แนวทางการวิเคราะห์
1. การระบุทางเลือกและวิเคราะห์ผลกระทบแต่ละทางเลือก ในประเด็นนี้
เสนอว่า ควรมีการระบุทางเลือก (identification of alternatives) เพื่อ
แจกแจงทางเลือกดำเนินการแก้ปัญหา และควรวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย
ของทางเลือกแต่ละทางเมื่อเทียบกับสภาพการณ์เรื่องนั้นใน
2. ทางเลือกย่อย ในประเด็นนี้ เสนอว่า ควรพิจารณาด้วยว่าในแต่ละทางเลือก
มีทางเลือกย่อย ๆ อีกหรือไม่
357 ดูรายละเอียดในหัวข้อ 4.3.3.2 ของบทที่ 4
358 ดูรายละเอียดในหัวข้อ 4.4.3.5 ของบทที่ 4
สถาบันพระปกเกล้า
219