Page 234 - kpiebook65010
P. 234
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
5. การกำหนดระยะ (stage) ขั้นตอน และเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ในแต่ละ
ระยะ ในประเด็นนี้ เสนอว่า อาจมีการแบ่งระยะ (stage) ขั้นตอน และ
เทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ในแต่ละระยะออกเป็น 2 ช่วง คือการวิเคราะห์
ภาพรวม และการวิเคราะห์แบบเจาะลึกในผลกระทบที่สำคัญ เช่น UK
มีการแบ่งระดับและขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบเป็น 2 ระดับ เริ่มจาก
การวิเคราะห์ในภาพกว้างโดยอาศัย longlist analysis ก่อน จากนั้น
จึงทำการวิเคราะห์ต่อในแนวดิ่งเพื่อพิจารณาผลกระทบในรายละเอียด
โดยอาศัย shortlist appraisal โดยในขั้นตอนหลังนี้จะพิจารณาก่อนว่า
จะใช้การวิเคราะห์แบบ Social CBA หรือ Social CEA หลังจากนั้น
จะเป็นการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ตามแนวทางที่กำหนด
6. การกำหนดแนวทางและเทคนิควิเคราะห์ที่แนะนำสำหรับการวิเคราะห์
เฉพาะด้าน ในประเด็นนี้ เสนอว่า อาจกำหนดแนวทางและเทคนิค
การวิเคราะห์ผลกระทบเฉพาะด้าน เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบด้าน
ความเท่าเทียมทางเพศ เช่นที่ปรากฏใน EU และ Netherlands
5.2 กรณีศึกษาการวิเคราะห์ผลกระทบ
ในหัวข้อนี้จะนำเสนอกรณีศึกษาด้านผลกระทบทางสังคม 3 ตัวอย่าง ซึ่งจะเน้น
การวิเคราะห์รายละเอียดการวิเคราะห์เฉพาะขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบและไม่ได้ครอบคลุม
การนำเสนอการทำ RIA ของร่างกฎหมายทั้งกระบวนการ เช่น ไม่ครอบคลุมการจัดรับฟัง
ความคิดเห็นและการระบุปัญหาอันเป็นที่มาของการเสนอร่างกฎหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจาก
ประเด็นหลักของรายงานการศึกษานี้จำกัดเฉพาะการพิจารณาแนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมเท่านั้น
การนำเสนอนี้จะให้ความสำคัญกับขั้นตอนการวิเคราะห์ทางเลือกที่อาจมีหลายทางเลือก
และการวิเคราะห์ผลกระทบจากร่างกฎหมาย โดยนำแนวคิดและวิธีการวิเคราะห์จากต่างประเทศ
มาปรับใช้กับกรณีศึกษา โดยวิเคราะห์ตามแนวทางการวิเคราะห์ที่ใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน
อิงกับแบบแนบท้ายของ RIA Handbook ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยกรณีศึกษา
ที่นำมานำเสนอจะสะท้อนให้เห็นมุมมองการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม 3 ด้าน ด้านแรก
เป็นด้านที่จะเกิดขึ้นจากการตรากฎหมายควบคุมมาตรฐานผู้ฝึกสอนและผู้ตัดสินกีฬา ด้ายที่สอง
จะนำเสนอผลกระทบที่จะเกิดจากการเสนอร่างกฎหมายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและ
สถาบันพระปกเกล้า
222