Page 233 - kpiebook65010
P. 233
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
10. การระบุข้อจำกัดของข้อสรุปการวิเคราะห์ ในประเด็นนี้ เสนอว่า ควรมี
การระบุให้เห็นถึงข้อจำกัดของข้อสรุปและการวิเคราะห์ด้วย รวมทั้ง
มีการจำแนกแยกแยะว่าข้อมูลใดเป็นข้อเท็จจริง (fact) ความเห็นของ
ผู้เชี่ยวชาญ (expert opinion) และความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย
(stakeholder view)
5.1.2.2 เทคนิควิธีการวิเคราะห์
1. การแนะนำเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ผลกระทบ ในประเด็นนี้ เสนอว่า ควรมี
การแนะนำเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ผลกระทบด้วย เช่น การวิเคราะห์แบบ
cost-benefit analysis (CBA) การวิเคราะห์แบบ cost-effectiveness
analysis (CEA) และการวิเคราะห์แบบ multi-criteria analysis เป็นต้น
2. การประมวลสาระสำคัญของเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบ ในประเด็นนี้
เสนอว่า ควรมีการจัดทำสรุป ตัวอย่างหรือประมวลรวมเทคนิคการวิเคราะห์
ผลกระทบ เช่น ที่มีการดำเนินการใน EU, UK, Netherlands, และ
Ireland
3. การกำหนดเทคนิควิเคราะห์ผลกระทบหลักที่แนะนำให้ใช้ ในประเด็นนี้
เสนอว่า ควรมีการกำหนดเทคนิควิเคราะห์ผลกระทบหลักที่แนะนำให้ใช้
เช่น EU, UK, Netherlands แนะนำให้ใช้การวิเคราะห์แบบ social cost
and benefit analysis (Social CBA) ในขณะที่ Ireland แนะนำให้ใช้
เทคนิคแบบ Multi-criteria analysis เป็นเทคนิคตั้งต้น
4. การกำหนดประเด็นหรือเงื่อนไขบางประการเป็นประเด็นหรือเงื่อนไข
ที่ต้องวิเคราะห์ (mandatory requirements) ในประเด็นนี้ เสนอว่า
อาจมีการกำหนดให้ในขั้นตอนการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ นั้นจะต้อง
กระทำโดยคำนึงถึงข้อพิจารณาบางประการที่มีความสำคัญต่อประเทศ
ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีปรากฏอย่างชัดเจนใน EU, UK, Netherlands
และ Ireland เช่น การคำนึงถึงหลักการวิเคราะห์อย่างได้สัดส่วน
(principle of proportionate analysis) โดยคำนึงถึงความเห็นของ
ผู้มีส่วนได้เสียและผู้เชี่ยวชาญด้วย
สถาบันพระปกเกล้า
221