Page 55 - kpiebook65010
P. 55
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
โดยสรุปแล้ว จะเห็นว่าปัจจุบันมีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการวิเคราะห์
ผลกระทบอยู่บ้างทั้งที่ปรากฏในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ RIA Guidelines ที่กำหนด
ขยายรายละเอียดหลักการในพระราชบัญญัติและเอกสารคู่มือที่หน่วยงานของรัฐทำขึ้นเพื่อ
กำหนดแนวทางการทำรายงาน RIA ที่ควรจะเป็น โดยอาจจัดเรียงตำแหน่งแห่งที่ของแนวทาง
การวิเคราะห์ผลกระทบในระบบกฎหมายไทยปัจจุบันได้ ดังนี้
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย
และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. 2562, มาตรา 17
แบบแนบท้าย RIA Guidelines (หัวข้อที่ 6 และ 8)
(ไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมายโดยตรง)
คู่มือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
ที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (RIA Handbook)
(ไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมายโดยตรง)
ภาพ 4 ตำแหน่งแห่งที่ของแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบในระบบกฎหมายไทยปัจจุบัน
จากแผนภาพข้างต้นนั้นจะเห็นว่าที่ปรึกษาเห็นว่าปัจจุบันมีการกำหนดรายละเอียด
เกี่ยวกับ “แนวทาง” การวิเคราะห์ผลกระทบในระบบการทำ RIA ในประเทศไทยบ้างแล้ว แต่ยัง
ไม่มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ “วิธีการ” ในการวิเคราะห์ผลกระทบ ทั้งในกฎหมายระดับ
พระราชบัญญัติและกฎหมายลำดับรอง แต่มีการกำหนดรายละเอียดในเรื่องเหล่านี้อยู่บ้างใน RIA
Guidelines และใน RIA Handbook อย่างไรก็ตามแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่มี
การกำหนดรายละเอียดใน RIA Guidelines และง RIA Handbook ไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย
อย่างชัดเจนเพราะ RIA Guidelines และ คู่มือดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
โดยตรง (non-binding instrument) นอกจากนี้ ในเอกสารทั้งสองฉบับยังไม่ได้วางหลักการ
เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบเฉพาะด้าน เช่น ผลกระทบทางสังคมและผลกระทบทางเศรษฐกิจเอาไว้
อย่างชัดเจน
ในหัวข้อต่อไปจะนำเสนอว่าหน่วยงานของรัฐที่มีการเสนอร่างกฎหมายฉบับต่าง ๆ
ได้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบอย่างไรบ้างโดยนำเสนอตัวอย่าง
การวิเคราะห์ที่ปรากฏในรายงาน RIA ของร่างกฎหมายบางฉบับ
สถาบันพระปกเกล้า
43