Page 52 - kpiebook65010
P. 52
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
8.1 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
8.2 ผลกระทบต่อสังคม
8.3 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาวะ
8.4 ผลกระทบอื่นที่สำคัญ
มีข้อสังเกตว่า แม้ว่าแบบแนบท้าย RIA Guidelines ที่กล่าวข้างต้นจะไม่ได้กำหนด
แนวทางการกำหนดรายละเอียดทั้ง 13 หัวข้อ ซึ่งจะต้องทำเป็นรายงาน RIA ว่าควรมีการวิเคราะห์
ผลกระทบไปในทิศทางใดก็ตาม ในเวลาต่อมาได้มีการกำหนดรายละเอียดแนวทางประเมิน
ผลกระทบเพิ่มเติมในคู่มือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
(RIA Handbook) ดังจะได้กล่าวถึงในหัวข้อ 2.3.2 ด้านล่างนี้
2.3.2 RIA Handbook
ได้กล่าวไปแล้วว่ามีการกำหนด RIA Guidelines สำหรับจัดทำรายงาน RIA ทั้ง
13 หัวข้อเพิ่มเติมในคู่มือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
51
(RIA Handbook) ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่ง RIA Handbook
ดังกล่าวได้กำหนดคำอธิบายขยายความประเด็นที่กำหนดใน RIA Guidelines ทั้งในส่วนของ
เหตุผลความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และส่วนของ
เหตุผลความจำเป็นในการใช้ระบบอนุญาต ระบบคณะกรรมการ การกำหนดโทษอาญา และการให้
เจ้าหน้าที่ของรัฐมีดุลพินิจ โดยในส่วนของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (หัวข้อที่ 6)
52
ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย (หัวข้อที่ 7)
และผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (หัวข้อที่ 8) นั้น RIA Handbook ได้อธิบาย
เพิ่มเติมโดยปรากฏข้อความในแบบฟอร์ม ดังนี้
51 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 16.
52
ดูรายละเอียดในตารางในหัวข้อ 2.3.1 ด้านบน
สถาบันพระปกเกล้า
40