Page 58 - kpiebook65010
P. 58

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               2.5 สรุปข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการวิเคราะห์

                      ผลกระทบในกฎหมายไทยปัจจุบัน


                      จากรายละเอียดที่ได้กล่าวไปแล้ว อาจสรุปได้ว่าปัจจุบันหลักการวิเคราะห์ผลกระทบจาก
               การตรากฎหมายหรือการทำ RIA ได้รับการบัญญัติไว้ในกฎหมาย โดยมีหลักการใหญ่ในมาตรา 77

               รัฐธรรมนูญฯ 2560 และมีการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
               เป็นการเฉพาะแล้ว ได้แก่ พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมิน

               ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ส่วนในรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และขั้นตอน
               การวิเคราะห์ผลกระทบนั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวได้บัญญัติรายละเอียดที่จะต้องดำเนินการ
               ในภาพรวมและมีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมอีกชั้นหนึ่งใน RIA Guidelines ส่วนแนวทาง

               การวิเคราะห์ผลกระทบนั้น มีการกำหนดแนวทางในภาพรวมเช่นกันในแบบแนบท้ายของ RIA
               Guidelines (หัวข้อที่ 6 หัวข้อที่ 7 และหัวข้อที่ 8) ในขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการ

               กฤษฎีกาก็ได้กำหนดแนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบใน RIA Handbook
               ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่จัดทำร่างกฎหมายและทำรายงาน RIA ก็ยึดถือแนวทางที่ปรากฏใน RIA
               Guidelines และ RIA Handbook ในการจัดทำ รายละเอียดดังได้นำเสนอในหัวข้อ 2.4 ไปแล้ว


                    มีข้อสังเกตว่า แม้ข้อ 1 ของ RIA Guidelines จะกำหนดหลักการว่า “ก่อนการเสนอให้มี
               การตรากฎหมายให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย โดยวิเคราะห์

               สภาพปัญหาและเหตุผลที่รัฐควรเข้าไปแทรกแซง ในเรื่องนั้น และพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ที่เป็น
               ไปได้ ทั้งทางเลือกที่เป็นกฎหมายและไม่เป็นกฎหมาย...” แต่ใน RIA Handbook ของสำนักงาน

               คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้กำหนดแนวทางการตรวจสอบความจำเป็นและการวิเคราะห์
               ผลกระทบทางเลือกอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทางเลือกทางกฎหมายที่จะมีการเสนอ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
               ในปัจจุบันการทำรายงาน RIA ของร่างกฎหมายตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

               นั้นเน้นไปที่การทำรายงานเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ “เฉพาะที่จะเกิดจากทางเลือกทางกฎหมาย
               ตามร่างกฎหมาย” เท่านั้น ทั้งนี้ น่าจะเนื่องมาจาก RIA Handbook มุ่งที่จะให้หน่วยงานรัฐ

               ที่เตรียมร่างกฎหมายนำเสนอผลการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายเป็นหลัก จึงไม่ได้กล่าวถึง
               ผลการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายที่มีการวิเคราะห์ผลกระทบของทางเลือกอื่น ๆ
               ด้วย ซึ่งมีประเด็นที่น่าคิดว่าควรมีการวิเคราะห์ผลกระทบทางเลือกอื่น ๆ ตั้งแต่ต้นและนำ







                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     46
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63