Page 59 - kpiebook65010
P. 59
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ผลการวิเคราะห์ดังกล่าวมาใส่ในรายงาน RIA ด้วยหรือไม่ 53
นอกจากนี้ ในส่วนของ “วิธีการวิเคราะห์ผลกระทบ” นั้น แม้แนวทางใน RIA Guidelines
54
จะแนะนำให้วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณเท่าที่จะทำได้ แต่ยังไม่มีการกำหนด
รายละเอียดการดำเนินการเอาไว้ว่าจะต้องใช้วิธีการใดเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล โดยหลายหน่วยงาน
มักจะทำการวิเคราะห์ผลกระทบโดยนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ (เชิงบรรยาย) เป็นหลัก โดยไม่ได้
แสดงผลกระทบในเชิงตัวเลข
ในขณะเดียวกันใน RIA Guidelines และ RIA Handbook ซึ่งจัดทำและเผยแพร่โดย
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายังไม่ได้วางหลักการเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบเฉพาะด้าน เช่น
ผลกระทบทางสังคมและผลกระทบทางเศรษฐกิจเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นข้อที่น่าพิจารณาต่อไป
ว่าจะสามารถศึกษาหลักการในระดับสากลและตัวอย่างการกำหนดวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบจาก
ประเทศอื่นเพื่อกำหนดรายละเอียดเหล่านี้ให้มีความชัดเจนเพิ่มขึ้นอีกได้หรือไม่ เพียงใด ซึ่งลำพัง
แต่การศึกษาสถานะปัจจุบันของการทำ RIA ในประเทศไทยซึ่งยังเป็นช่วงเริ่มต้นอาจยังไม่สามารถ
พัฒนารายละเอียดในส่วนนี้ได้ หากไม่มีการศึกษาว่าในระดับสากลมีแนวทางดำเนินการเรื่องนี้
อย่างไร ดังนั้น จะมีการศึกษาเพิ่มเติมจากประสบการณ์ต่างประเทศ รายละเอียดดังกล่าวจะได้
นำเสนอในบทที่ 3 และบทที่ 4
53 ดูตัวอย่างรายงาน RIA ของร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ที่เผยแพร่ใน
เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นตัวอย่าง ซึ่งจะเห็นว่ารายงาน RIA มุ่งที่จะวิเคราะห์เฉพาะผลกระทบจาก
ทางเลือกเดียวคือทางเลือกที่จะต้องมีการตรากฎหมาย เข้าถึงได้จาก https://www.krisdika.go.th/data/news/
news14491.pdf เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564.
54 วิธีการวิเคราะห์ผลกระทบ ที่ใช้ในรายงานการศึกษานี้ หมายถึงเทคนิคและวิธีการในการตีมูลค่าผลกระทบที่
อาจคำนวณได้และประเมินค่าผลกระทบที่ไม่อาจคำนวณเป็นตัวเลขได้
สถาบันพระปกเกล้า
47