Page 50 - kpiebook65010
P. 50
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
รายงาน RIA โดยให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบต่องบประมาณ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือ
48
ผลกระทบอื่นที่สำคัญในรายงานดังกล่าวด้วย จะเห็นว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้กำหนด
แนวทางอย่างชัดเจนมากนักว่าการวิเคราะห์ผลกระทบจะต้องครอบคลุมหัวข้อใดบ้างอย่างชัดเจน
ดังเห็นได้จากการใช้คำว่า “หรือผลกระทบอื่นที่สำคัญ” ปิดท้ายแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบ
อย่างไรก็ตามผลกระทบทางสังคมซึ่งเป็นส่วนที่รายงานการศึกษานี้ศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งของ
ผลกระทบที่จะต้องมีการวิเคราะห์ในรายงาน RIA
แม้ว่ากฎหมายจะขาดความชัดเจนในการกำหนดแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบ
แต่หากพิจารณา RIA Guidelines จะพบว่า RIA Guidelines ได้กำหนดให้รายงาน RIA ที่จะต้องมี
การจัดทำตามเงื่อนไขในมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย
และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน
ตามแบบแนบท้าย RIA Guidelines ได้แก่ ส่วนที่ 1 เหตุผลความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมายและ
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และส่วนที่ 2 เหตุผลความจำเป็นในการใช้ระบบอนุญาต
ระบบคณะกรรมการ การกำหนดโทษอาญา และการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีดุลพินิจ โดยมี
รายละเอียดของหัวข้อปรากฏในตารางสรุป ดังนี้ 49
ส่วนที่ 2
ส่วนที่ 1
เหตุผลความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมาย เหตุผลความจำเป็นในการใช้ระบบอนุญาต
และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ระบบคณะกรรมการ การกำหนดโทษอาญา
และการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีดุลพินิจ
1. สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบของ 9. เหตุผลความจำเป็นในการใช้ระบบอนุญาต
ปัญหา 10. เหตุผลความจำเป็นในการใช้ระบบคณะกรรมการ
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการแทรกแซง 11. เหตุผลความจำเป็นในการกำหนดโทษอาญา
3. การแก้ปัญหาในปัจจุบัน 12. เหตุผลความจำเป็นในการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของ
4. การรับฟังความคิดเห็น รัฐมีดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครอง
5. ความสัมพันธ์หรือความใกล้เคียงกับกฎหมายอื่น 13. หรือดำเนินกิจการทางปกครอง
6. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
7. ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตาม
และบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย
8. ผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
48 มาตรา 17 (5)
49 รายละเอียดการวิเคราะห์ผลกระทบร่างกฎหมายโดยอิงกับแบบแนบท้ายของ RIA Guidelines ดูหัวข้อ 5.2
ของบทที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า
38