Page 51 - kpiebook65010
P. 51
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
จากหัวข้อของรายละเอียดรายงานที่ได้สรุปในตารางข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าหัวข้อ
เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบเป็นส่วนหนึ่งของหัวข้อสำคัญ 13 หัวข้อที่จะต้องปรากฏใน
รายงาน RIA โดยปรากฏในหัวข้อที่ 6 หัวข้อที่ 7 และหัวข้อที่ 8 ตามแบบแนบท้ายของ RIA
Guidelines ซึ่งในส่วนของหัวข้อที่ 6 นั้น มีการกำหนดประเด็นคำถามที่จะต้องพิจารณา 3 ข้อ
ด้วยกัน ดังนี้
50
6.1 กฎหมายนี้จำกัดสิทธิหรือเสรีภาพ หรือก่อให้เกิดหน้าที่หรือภาระอะไรแก่ใครบ้าง
6.2 มีมาตรการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง หรือเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบตาม 6.1
อย่างไร
6.3 กฎหมายนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ สังคม หรือประชาชนอย่างไร
ในส่วนของหัวข้อที่ 7 นั้น เป็นส่วนที่เกี่ยวกับความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติ
ตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบในแง่การดำเนินการ
ที่เป็นภาระจากการออกกฎ (regulatory burden) โดยประเด็นที่จะต้องมีการระบุประกอบด้วย
7.1 หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
7.2 แนวทางและระยะเวลาเตรียมการในการปฏิบัติตามหรือบังคับการให้เป็นไป
ตามกฎหมายอย่างไร และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกหรือลดขั้นตอนและ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหรือไม่
7.3 มีแนวทางและระยะเวลาในการสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามและการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างไร
7.4 ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่คาดว่าต้องใช้ในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตาม
กฎหมายในระยะ 3 ปีแรก เป็นจำนวนกี่บาท อัตรากำลังที่ต้องใช้กี่อัตรา โดยเป็นอัตรากำลังที่มี
อยู่แล้วกี่อัตรา อัตรากำลังที่ต้องเพิ่มขึ้นกี่อัตรา
ส่วนหัวข้อที่ 8 นั้นกำหนดให้มีการระบุถึงผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
50 รายละเอียดคำอธิบายรายประเด็นต่อการพิจารณาแต่ละข้อ ดูคำอธิบายในหัวข้อ 2.3.2 ด้านล่าง
สถาบันพระปกเกล้า
39