Page 61 - kpiebook65010
P. 61

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย


                    เนื่องจากแนวคิดการทำ RIA ตามแบบฉบับที่มีการดำเนินการในประเทศไทยปัจจุบัน
                                          55
               รับเข้ามาจากประเทศตะวันตก  ดังนั้น การพิจารณาว่าแนวคิดการทำ RIA ในประเทศไทย
               มีความสอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ที่ใช้อยู่มากน้อยเพียงใดนั้นอาจทำได้โดยการศึกษาว่า
               องค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลนั้นมีอยู่อย่างไรและการดำเนินการในประเทศไทย
               เหมือนหรือแตกต่างจากการดำเนินการในต่างประเทศมากน้อยเพียงใด


                    ในบทนี้จะนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมใน
               การตรากฎหมายในระดับสากลโดยพิจารณาจากองค์ความรู้ที่ปรากฏในตราสารระหว่าง

               ประเทศ แนวทางและคำแนะนำของหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
               โดยเฉพาะเอกสารเผยแพร่ของกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

               (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) และ
               สหภาพยุโรป (European Union: EU) รวมทั้งงานวิชาการที่มีการนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง
               ดังกล่าวเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการของกลุ่มประเทศ OECD และ EU โดยจะเน้นไปที่

               การนำเสนอแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดทำ
                                  56
               กฎหมายและนโยบาย  โดยมุ่งนำเสนอว่าเอกสารที่เกี่ยวข้องได้กำหนดขอบเขตความหมาย





                     55   แม้ว่าในอดีตประเทศไทยจะมีแนวทางการดำเนินการที่สอดคล้องกับการทำ RIA เริ่มตั้งแต่การมีหลักการ
               เรื่องนี้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531 ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในบทที่ 2
               ก็ตาม แต่หากพิจารณารูปแบบและกลไกการประเมินที่มีการจัดวางระบบอย่างชัดเจนนั้น อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทย
               รับเอาแนวคิดดำเนินการมาจากเอกสารของ OECD อันได้แก่ OECD Checklist for Regulatory Decision-Making
               ซึ่งปรากฏในเอกสารแนบท้ายของ OECD Recommendation of the Council on Improving the Quality of
               Government Regulations (รายละเอียดการรับเอาแนวคิดของ OECD เข้ามาดำเนินการในประเทศไทยดู OECD,
               Regulatory Management and Oversight Reforms in Thailand: A Diagnostic Scan (OECD 2020) 57.)
                     56   เหตุที่ต้องกำหนดขอบเขตการนำเสนอเช่นนี้ก็เนื่องจากรูปแบบการประเมินผลกระทบ (impact
               assessment) ตามหลักสากลนั้นมีหลายระดับทั้งในระดับกฎหมาย นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และกิจกรรมหรือ
               โครงการ โดยการประเมินแต่ละระดับเหล่านี้มีกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ (international framework) กฎหมาย
               ภายใน (domestic laws) และรายละเอียดดำเนินการที่แตกต่างกัน โดยการประเมินผลกระทบในระดับโครงการและ
               กิจกรรมนั้นมีกฎหมายกำหนดรายละเอียดไว้มากทั้งกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน ในขณะที่การประเมิน
               ผลกระทบในระดับนโยบายและกฎหมายนั้น แม้จะมีการกล่าวถึงในบริบทระหว่างประเทศอยู่น้อยกว่า แต่มีการจัดทำ
               ตราสารระหว่างประเทศโดยหลายองค์กรที่มุ่งเน้นให้มีการนำไปดำเนินการภายในประเทศในลักษณะที่เป็นแนวทาง
               ดำเนินการ (guidance) และควรที่จะนำมากล่าวถึงให้เห็นกรอบภาพรวมอันเป็นตัวแทนของแนวคิดการทำ RIA ในระดับ
               สากล (รายละเอียดการจัดจำแนกระดับของการประเมินผลกระทบ ดู John Turnpenny and others, ‘Chapter 13
               Environment’ in Claire A Dunlop (ed), Handbook of Regulatory Impact Assessment (Edward Elgar
               2016) 195-197.)

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     49
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66