Page 63 - kpiebook65010
P. 63
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
3.1 ความหมายและลักษณะของการวิเคราะห์ผลกระทบ
ทางสังคม
การศึกษานี้มุ่งเน้นนำเสนอแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม ดังนั้น
ในหัวข้อนี้จะนำเสนอว่า คำว่า “ผลกระทบทางสังคม” และ “การประเมินผลกระทบทางสังคม”
ที่ใช้ในบริบทของการศึกษานี้ว่ามีความหมายอย่างไร ซึ่งการทำความเข้าใจลักษณะของถ้อยคำ
เหล่านี้ย่อมช่วยให้เกิดความเข้าใจแนวทาง วิธีการ หรือขั้นตอนดำเนินการประเมินผลกระทบ
ชัดเจนขึ้นนั่นเอง
3.1.1 ความหมายของผลกระทบทางสังคม
ในบริบทของ RIA นั้น การประเมินผลกระทบด้านสังคมถือเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอน
การประเมินผลกระทบแต่ละด้านของข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อให้ครอบคลุมเรื่องที่กำลังทำ RIA
โดยแต่ละประเทศอาจจำแนกว่าเรื่องใดเป็นประเด็นทางสังคมหรือเป็นผลกระทบทางสังคม
แตกต่างกันไป และบางครั้งอาจไม่มีการกำหนดนิยามหรืออธิบายอย่างชัดเจนว่าผลกระทบใด
เป็นผลกระทบทางสังคม ซึ่งจะเห็นได้ในบทต่อไปว่าแต่ละประเทศกำหนดแนวทางพิจารณา
แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเบื้องต้นและสร้างความชัดเจนเมื่อต้องพิจารณา
เครื่องมือ วิธีการหรือแนวทางการประเมินผลกระทบทางสังคม ควรกล่าวถึงความหมายของ
ผลกระทบทางสังคมที่มีการอธิบายในวรรณกรรมเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบ ดังพิจารณาได้
จากตัวอย่างตัวไปนี้
3.1.1.1 นิยามในบทความของ Burdge และ Vanclay
ในงานศึกษาของ Burdge และ Vanclay ซึ่งได้รับการอ้างอิงถึงอย่าง
กว้างขวางได้อธิบายความหมายของผลกระทบทางสังคม ว่าหมายถึง ผล (consequence) ในด้าน
สังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อประชากรมนุษย์ ไม่ว่าเกิดจากการกระทำส่วนบุคคลหรือจาก
ภาคสาธารณะ โดยผลดังกล่าวนั้นได้ส่งผลเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ เช่น การใช้ชีวิตและการทำงาน
58
เป็นต้น นอกจากนี้ นักวิชาการทั้งสองท่านยังได้อธิบายขยายความคำว่าผลกระทบด้านวัฒนธรรม
(cultural impact) อันเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบทางสังคมด้วยว่าได้แก่บรรดาผลกระทบที่เกิด
58 Rabel Burdge and Frank Vanclay, ‘Social Impact Assessment: A Contribution to the State of
the Art Series’ (1996) 14 (1) Impact Assessment 59.
สถาบันพระปกเกล้า
51