Page 62 - kpiebook65010
P. 62

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย

               และรายละเอียดดำเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายเอาไว้

                                      57
               หรือไม่ เพียงใดและอย่างไร
                    การทำความเข้าใจองค์ความรู้ที่จะกล่าวถึงในบทนี้จะช่วยให้เห็นภาพกว้างของกรอบ

               การดำเนินการในบางประเทศที่จะกล่าวถึงในบทที่ 4 ให้ชัดมากขึ้นเนื่องจากเอกสารเกี่ยวกับ
               แนวทางการทำ RIA ของแต่ละประเทศอาจไม่ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐาน
               (underlying concepts) และวิธีการ (methods) ในการวิเคราะห์ผลกระทบเอาไว้อย่าง

               ละเอียดมากนักโดยมักจะอาศัยแนวทางที่ OECD และ EU วางแนวทางเอาไว้ ในขณะเดียวกัน
               การทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐาน (underlying concepts) และวิธีการ (methods) ที่มี

               การดำเนินการในระดับสากลที่มีการจัดทำโดยองค์กรเหนือรัฐ (supra-national organization)
               ก็จะเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการพัฒนาแนวคิดและวิธีการตลอดจนกรณีศึกษาที่เหมาะสม
               สำหรับบริบทในประเทศไทย ซึ่งจะกล่าวถึงในบทที่ 5 และบทที่ 6 ตามลำดับ


                    การนำเสนอในบทนี้จะแบ่งเนื้อหาเป็น 8 หัวข้อหลักโดยเริ่มจากการอธิบายความหมาย
               และลักษณะของการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม ความสำคัญของการวิเคราะห์ผลกระทบ

               ทางสังคมในการตรากฎหมาย ขั้นตอนหลักของการทำ RIA ในภาพรวม แนวทางดำเนินการ
               เพื่อประเมินผลกระทบทางสังคม ภาพเบื้องต้นของเทคนิควิธีการที่มีการใช้วิเคราะห์ผลกระทบ
               ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ ตัวอย่างการประเมินผลกระทบทางสังคม

               เฉพาะด้าน โดยนำเสนอการวิเคราะห์ด้านความเท่าเทียมทางเพศ ด้านสิ่งแวดล้อม และ
               ด้านสุขภาพ ตามลำดับ จากนั้นจะทำการสรุปข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการวิเคราะห์

               ผลกระทบทางสังคมในระดับสากล



















                     57   แม้ว่าโดยหลักแล้วองค์ความรู้ที่รายงานการศึกษานี้มุ่งนำเสนอจะเน้นไปที่การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม
               ในการตรากฎหมายก็ตาม แต่เนื่องจากแนวคิดในเรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสังคมส่วนใหญ่พัฒนามาจาก
               การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมระดับโครงการ (project-based assessment) ดังนั้น องค์ความรู้ในหลายส่วนที่นำมา
               นำเสนออาจนำมาจากงานวิชาการหรือเอกสารที่มุ่งใช้กับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมทั้งในระดับโครงการ

               แต่สามารถนำมาใช้อธิบายการวิเคราะห์ในระดับนโยบายและกฎหมายได้เนื่องจากมีกลไกการดำเนินงานที่ใช้ร่วมกันได้

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     50
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67