Page 46 - kpiebook65020
P. 46

7

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               คุ้มครองผู้บริโภค การจัดระเบียบการประกอบอาชีพเพียงเท่าที่จ าเป็นหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น”
               กล่าวคือรัฐสามารถเข้าแทรกแซงเสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชนได้หากมีเหตุผลที่จ าเป็นเท่านั้น
               นอกจากนี้ มาตรา 75 วรรคสอง ยังระบุถึงหน้าที่ของรัฐอย่างเฉพาะเจาะจงว่า “รัฐต้องไม่ประกอบกิจการที่มี
               ลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่กรณีที่มีความจ าเป็น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ

               การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การจัดให้มีสาธารณูปโภค หรือการจัดท าบริการสาธารณะ” เจตนารมณ์ของ
               มาตรา 40 และ 75 ดังกล่าวที่ประสงค์จะจ ากัดการแทรกแซงของรัฐสอดคล้องมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่ง
               ราชอาณาจักรไทยที่ประสงค์ให้รัฐออกกฎเท่าทีจ าเป็นและไม่เป็นภาระมากเกินไปแก่ประชาชนเพื่อให้

               ประชาชนมีเสรีภาพในการด าเนินชีวิตของตนนั่นเอง
                       ดังนั้น เมื่อสามารถระบุได้แล้วว่าในการออกหรือเปลี่ยนแปลงกฎใด ๆ ผู้ออกกฎจ าเป็นจะต้องระลึกถึง

               สาธารณะประโยชน์ที่เกิดขึ้นเป็นส าคัญ ค าถามที่ตามมาส าหรับผู้ออกกฎคือมีสิ่งใดบ้างที่ถูกจัดว่าเป็นสาธารณะ
               ประโยชน์

                                     (1) การเพิ่มสาธารณะประโยชน์ในทางเศรษฐศาสตร์

                       ก่อนจะตัดสินออกกฎใด  ๆ ผู้ออกกฎจ าเป็นจะต้องศึกษาและคาดคะเนถึงสาธารณะประโยชน์ที่จะ
               เกิดขึ้นจากการออกกฎเสียก่อน แม้ว่าผู้ออกกฎจะไม่สามารถค านวณและวิเคราะห์ถึงสารธารณะประโยชน์

               ล่วงหน้าได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ก็สามารถน าเอาหลักการทางทฤษฎีมาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการ
               ค านวณถึงผลประโยชน์เหล่านั้นให้ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด หนึ่งในทฤษฎีที่สามารถน ามาปรับ
               ใช้ได้คือทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบเสรีนิยม

                       ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบเสรีนิยมตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานว่า กลไกที่สามารถเข้ามาจัดการชีวิต
               ความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมให้ด าเนินกันไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นไม่ใช่กฎ แต่คือกลไกของตลาดผ่าน

               มือที่ไม่มองเห็น (the  invisible  hand) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ผู้คนแต่ละคนในสังคมนั้นมีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคล
               (individualism) และทุกคนล้วนมีเหตุผล (Rational being) มีความคิดความอ่านเป็นของตนเองและสามารถ
               คิดไตร่ตรองได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดส าหรับตนเอง เมื่อสังคมให้อิสระกับผู้คนได้ใช้ความคิดของตนในการเลือก
               สิ่งที่ดีที่สุดส าหรับตนแล้ว กลไกของตลาด (Market  Mechanism)  อย่างอุปสงค์ (Demand)  หรือ ความ

               ต้องการซื้อ และอุปทาน (Supply) หรือ ความต้องการขาย จะท าหน้าที่ในการจัดเรียงความต้องการของผู้คน
               ในสังคมให้สอดคล้องต้องกัน ตัวอย่างเช่น A คิดว่าการล่าสัตว์เป็นความสามารถที่ดีที่สุดของตนและการได้ล่า
               สัตว์จะเป็นสิ่งที่ท าให้ตนสามารถด าเนินชีวิตได้อย่างดีที่สุด A จึงใช้ชีวิตของตนผ่านการล่าสัตว์ ในขณะเดียวกัน

               B คิดว่าตนมีความสามารถในการท าอาหารและไตร่ตรองแล้วว่าการท าอาชีพแม่ครัวจะสามารถท าให้ตนด าเนิน
               ชีวิตไปได้อย่างดีที่สุด เมื่อ A ต้องการจะล่าสัตว์และ B ต้องการจะท าอาหาร ทั้งสองจึงมาท าข้อตกลงกันว่า A
               จะล่าสัตว์มาให้ B ท าอาหารและ B จะมอบอาหารของตนให้ A ได้รับประทานเพื่อด ารงชีพและสามารถกลับไป
               ล่าสัตว์ได้ในวันต่อไป ข้อแลกเปลี่ยนระหว่าง A  กับ B  เกิดขึ้นได้เพราะทั้งคู่มีความต้องการที่สอดคล้องกัน
               กลไกของตลาดเป็นกลไกที่ท าให้การและเปลี่ยนของ A  และ B  เกิดขึ้นได้ ดังนั้นแล้วการปล่อยให้กลไกของ

               ตลาดเข้ามาควบคุมระบบสังคมจึงเป็นวิธีการที่นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมเชื่อว่าจะท าให้ทั้ง A และ B สามารถ
               ด าเนินชีวิตไปได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพที่สุดส่งผลให้สาธารณะประโยชน์ในสังคมที่ A  และ B  อาศัยอยู่
               เพิ่มขึ้นไปด้วย เพราะฉะนั้นตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบเสรีนิยม การเพิ่มสาธารณประโยชน์ในสังคม

               สามารถท าได้โดยการปล่อยให้กลไกตลาดได้ท าหน้าที่ของตนโดยไม่มีการออกกฎใด ๆ เข้าไปแทรกแซงกลไก
               เหล่านั้น
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51