Page 76 - kpiebook65020
P. 76

37

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               ตอบสนองความถูกต้องเชิงรูปแบบ แม้ผลลัพธ์สุดท้ายของ RIA  จะเป็นเพียงรายงานชิ้นหนึ่งแต่แท้จริงแล้วคือ
               กระบวนการในการตัดสินใจกระบวนหนึ่งที่ส าคัญจ าเป็นในวัฏจักรของนโยบายและในท้ายที่สุดการจัดท า RIA
               จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถขององค์กรภาครัฐในการออกแบบ จัดท าและดูแลการใช้กฎและ
               นโยบายในท้ายที่สุด ดังนั้นแล้วคุณค่าที่แท้จริงของ RIA  จึงไม่สามารถวัดได้ในรายงานเพียงฉบับเดียว แต่จะ

               วิเคราะห์จากคุณภาพและความสามารถขององค์กรที่จะค่อยๆสะสมเพิ่มพูนขึ้นผ่านการท า RIA ในระยะยาว

                              เนื่องจากคุณค่าที่แท้จริงของการท า RIA   จะปรากฏหลังมีการจัดท า RIA อย่างเป็น
               กิจจะลักษณะในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานประมาณหนึ่ง OECD จึงได้ท าการประมวลการจัดท า RIA ในประเทศ
               ในกลุ่มแล้วจึงจัดท าข้อเสนอแนะ 10 ประการ เพื่อน าไปสู่การจัดท า RIA ที่ดีตามแนวทางของ OECD (OECD
                             58
               Best Practices)

                                1.  การสร้างความผูกพันทางการเมืองต่อ RIA ให้ได้มากที่สุด
                                2.  การจัดสรรความรับผิดชอบในการด าเนินการตามขั้นตอนของ RIA อย่างรอบครอบ
                                3.  การฝึกอบรมทีมผู้จัดท า RIA
                              การจัดท า RIA  นั้นควรมีการรวมรวมผู้คนจากหลากหลายส่วนในองค์กร อย่างไรก็ตามการ
               คัดเลือกและจัดสรรทีมควรมีความสอดคล้องกับโครงสร้างขององค์กรและท าให้ RIA  ถูกน าไปใช้ในการ

               ออกแบบและตัดสินใจนโยบายและกฎมากที่สุด แม้ว่าในหลายประเทศจะจ้างบริษัทเอกชนในการจัดท า RIA
               OECD แนะน าว่าท้ายที่สุดแล้วองค์กรภาครัฐควรพยายามสร้างทีมงานรับผิดชอบการจัดท า RIA ภายในองค์กร
               เอง ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลากรภายในคือผู้ที่รู้ถึงปัญหา จุดแข็งและจุดอ่อนของการด าเนินนโยบายขององค์กร

               มากที่สุด นอกจากนี้แล้วการสร้างทีมผู้จัดท าจากหลากหลายส่วนในองค์กรยังช่วยท าให้ RIA    ได้รับการ
               สนับสนุนและการยอมรับจากหลากหลายภาคส่วนอีกด้วย อย่างไรก็ดี เพื่อให้เนื้อหาของ RIA ถูกต้องและ
               ครบถ้วน มีความจ าเป็นจะต้องรวบรวมผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อย่างผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและ
               เศรษฐศาสตร์ เข้าร่วมในทีมด้วย

                                4.  การใช้วิธีการวิเคราะห์ที่สอดคล้องกันแต่มีความยืนหยุ่น
                                5.  พัฒนาและก าหนดกลยุทธ์ในการจัดเก็บข้อมูล
                                6.  การก าหนดเป้าหมายของ RIA
                                7.  การรวม RIA ในกระบวนการจัดท านโยบาย

                                8.  การเผยแพร่ผลลัพธ์
                                9.  สร้างบทสนทนากับสาธารณะในวงกว้าง
                                10. การจัดท า RIA ส าหรับกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบันและกฎหมายใหม่

                              2.1.4.2 แนวทางของประเทศพัฒนาแล้ว

                              วิธีการในการด าเนินการวิเคราะห์ผลกระทบก็แตกต่างกันออกไปในประเทศต่าง ๆ เช่น
               ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะใช้วิธีการวิเคราะห์และผลประโยชน์ โดยหน่วยงานของรัฐจะต้องศึกษาผลกระทบ

               จากการออกกฎหมายแล้วใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ช่วยค านวณต้นทุนผลกระทบต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลข
               อย่างชัดเจน ร่างกฎหมายใดที่หลังจากค านวณแล้วมีค่าของผลประโยชน์มากกว่าต้นทุนจะถือว่าผ่านการ
               วิเคราะห์ผลกระทบและอาจจะถูกยกร่างกลายเป็นกฎหมายต่อไป ในทางตรงข้าม ตาม Impact Assessment


               58  RIA tdri p2-10 – 2-13.
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81