Page 77 - kpiebook65020
P. 77
38
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
Guideline ของสหภาพยุโรป หน่วยงานของรัฐไม่จ าเป็นจะต้องค านวณและวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
59
อย่างเคร่งครัดเหมือนในสหรัฐอเมริกา แต่จะต้องท าการวิเคราะห์ผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและ
เศรษฐกิจแยกกันอย่างชัดเจน โดยข้อมูลของผลกระทบในแต่ละด้านไม่จ าเป็นจะต้องถูกเปลี่ยนเป็นตัวเลข
ต้นทุนและผลประโยชน์แต่อาจจะเป็นเพียงข้อมูลเชิงบรรยายก็ได้ หลังจากท าการวิเคราะห์ผลกระทบในทั้ง
สามด้านร่วมกันแล้วหน่วยงานของรัฐจะต้องจะท าการสรุปว่าร่างกฎหมายนั้นสมควรถูกยกร่างหรือไม่
การพิจารณาผลกระทบในหลายด้านแยกออกจากกันถูกเรียกว่าวิธีการศึกษาแบบ Multi-Criteria Analysis
นอกจากวิธีการด าเนินการวิเคราะห์ทั้งสองที่กล่าวมาแล้ว ยังมีบางประเทศ เช่น ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย
และออสเตรเลีย ที่เลือกใช้วิธีการวิเคราะห์ที่เรียกว่า หลักการค านวณภาระในการปฏิบัติตามกฎหมาย
(Standard Cost Model) โดยวิธีการนี้จะวิเคราะห์ภาระของประชากรในการท าตามร่างกฎหมายที่ถูกเสนอ
เปรียบเทียบกับภาระของประชากรหากไม่มีการร่างกฎหมายใหม่ เมื่อหน่วยงานของรัฐทราบข้อมูลของภาระ
ของประชาชนที่เพิ่มขึ้นก็จะต้องน าข้อมูลนี้ไปวิเคราะห์ร่วมกันข้อมูลอื่น ๆ เพื่อน าไปสู่การตัดสินออกกฎหมาย
60
ต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตว่าวิธีการด าเนินการจัดท า RIA ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละ
61
ประเทศนั้นมีสาเหตุมาจากวัตถุประสงค์ในการท า RIA ที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริการะบุ
วัตถุประสงค์ของการจัดท า RIA “เพื่อใช้คาดการและประเมินผลที่น่าจะเกิดขึ้นจากกฎและเพื่อจัดการรวบรวม
หลักฐานที่เกี่ยวของกับผลกระทบที่เกิดจากการออกกฎในรูปแบบต่าง ๆ ก่อนน าไปสู่การตัดสินใจในการพัฒนา
62
และออกแบบกฎ” ส่วนในกลุ่มสหภาพยุโรป การจัดท า RIA มีขึ้นเพื่อให้หน่วยงานด าเนินการจัดเตรียมร่าง
กฎหมายได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และการท า RIA คือ กระบวนการในการจัดเตรียมข้อมูลและหลักฐานส าหรับ
63
การตัดสินใจโดยฝ่ายการเมืองในการออกกฎหมายต่อไป จะเห็นว่า ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องการ
ให้ RIA เป็นกระบวนการที่ใช้การตัดสินใจออกกฎหมายโดยตรง สหภาพยุโรปกลับมองว่าการจัดท า RIA มีขึ้น
เพื่อให้หน่วยงานผู้เสนอร่างได้ทบทวนหลักการและเหตุในการออกกฎและเพื่อช่วยในการตัดสินใจออกกฎของ
สมาชิกรัฐสภาหรือผู้เกี่ยวข้องการด าเนินการออกกฎ ดังนั้นวิธีการด าเนินการจัดท า RIA ในสหรัฐอเมริกาจึงมี
ความเคร่งครัดและต้องการผลจากการวิเคราะห์ที่เป็นตัวเลขระบุต้นทุนและผลประโยชน์อย่างชัดเจน ส่วนใน
สหภาพยุโรปการจัดท า RIA เป็นเพียงการวิเคราะห์หาข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการยกร่างกฎหมาย
เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งว่า การจัดท า RIA ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นจะจัดท ากับ
59 European Commission, “Better regulation: guidelines and toolbox.” European Commission, accessed 11
September 2020, from https://ec.europa.eu/info/sites/info/files/better-regulation-guidelines-impact-assess
ment.pdf
60
ใจใส วงส์พิเชษฐ, “Standard Cost Model: แบบการค านวณภาระในการปฏิบัติตามกฎหมาย,” กองพัฒนากฎหมาย
ส านักงานกฤษฎีกา, (2562) สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563, จาก https://lawreform.go.th/uploads/files /1520327
367-oz7k5-aldar.pdf?fbclid=IwAR23WhntMAtCjD6dgNlZUn8RQXUkcdgEQ1NAZdOARXX_7_BSLMUZaLrZLd g.
61 Andrea Renda, Law and Economics in the RIA world Improving the Use of Economic Analysis in Public
Policy and Legislation, (Rome:Intersentia, 2011).
62
ระบุไว้ในค าสั่งฝ่ายบริหาร OIRA Circular A-4 from https://www.whitehouse.gov /sites / whitehouse.gov/files/
omb/circulars/A4/a-4.pdf.
63 European Commission, Ibid .