Page 78 - kpiebook65020
P. 78

39

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                                        64
               ร่างกฎหมายล าดับรองเท่านั้น  กล่าวคือ ร่างกฎหมายที่จะต้องเสนอเข้าสภานั้นไม่จ าเป็นจะต้องท า RIA  แต่
               การออกกฎล าดับรองที่หน่วยงานของรัฐสามารถออกได้เองโดยไม่ผ่านการอนุมัติจากสภา เช่น กฎกระทรวง
               จ าเป็นจะต้องจัดท า RIA ก่อน ดังนั้น RIA ในสหรัฐอเมริกาจึงเป็นส่งผลต่อการตัดสินใจออกหรือไม่ออกกฎนั้น
               ๆ โดยตรง ในขณะที่ในสหภาพยุโรป RIA ถูกใช้กับกฎหมายล าดับพระราชบัญญัติที่ต้องผ่านการเห็นชอบจาก

               สภา กฎหมายล าดับรอง และนโยบายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กฎหมายอย่างนโยบายทางเศรษฐกิจหรือข้อเสนอแนะใน
               การเจรจาทางการค้า ที่ล้วนแต่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากฝ่ายการเมืองก่อนจะมีผลบังคับใช้ทั้งสิ้น
               เพราะฉะนั้นในการเลือกวิธีการด าเนินการจัดท า RIA หน่วยงานจะต้องค านึงวัตถุประสงค์ในการจัดท าและอาจ

               รวมไปถึงลักษณะของร่างกฎหรือกฎหมายนั้น ๆ อีกด้วย
                              2.1.4.3 แนวทางของประเทศก าลังพัฒนา


                              ส าหรับประเทศก าลังพัฒนามีงานวิจัยระบุว่าประเทศมีรายได้ปานกลางในกลุ่ม OECD อย่าง
                                  65
               เกาหลีใต้และเม็กซิโก  มีความพยายามในการจัดท า RIA  โดยมีการจัดท ากฎหมายและจัดตั้งองค์กรขึ้นมา
               รับผิดชอบการจัดท า RIA  อย่างต่อเนื่อง เกาหลีใต้ใช้วิธีการวิเคราะห์ที่อ้างอิงมาจาก OECD  Checklist  และ
                                                 66
               วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์  นอกจากนี้แล้ว ในปี 2015  เกาหลีใต้ได้ริเริ่มใช้วิธีการ Cost-In
               Cost-Out (CICO) เพื่อใช้ควบคุมไม่ให้การออกกฎโดยรวมมีต้นทุนมากกว่าผลประโยชน์  ส่วนในประเทศก าลัง

               พัฒนากลุ่มรายได้น้อยส่วนใหญ่แม้จะรับเอาแนวคิดการจัดท า RIA เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกรอบคิดของการร่าง
                                                                          67
               กฎหมายแต่ก็ไม่มีการจัดท าระเบียบวิธีส าหรับการวิเคราะห์อย่างชัดเจน































               64  Andrea Renda, supra note 61.
               65  Ibid.
               66  ใจใส วงส์พิเชษฐ และสัจจรัตน์ พิชิตปัจจา, “การพัฒนาคุณภาพของกฎหมายในประเทศเกาหลีใต้,” กองพัฒนากฎหมาย
               ส านักงานกฤษฎีกา, (2562) สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563, จากhttp: //web.krisdika.go.th/dat/outsitedat/article
               77/file77/f14.pdf
               67
                 . Peci and Sobral, “Regulatory Impact Assessment: How political and organizational forces influence its
               diffusion in a developing country,” Regulation & Governance, Vol 5, pp. 204-220 (2011)
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83