Page 72 - kpiebook65020
P. 72
33
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
(6) ก าหนดแนวทางในการประเมินตรวจสอบ
หลังเปรียบเทียบทางเลือกและตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดออกมาได้แล้ว การ
จัดท า RIA ควรระบุต่อไปถึงวิธีการตรวจสอบผลลัพธ์จากการด าเนินการตามตัวเลือกดังกล่าวในอนาคต ซึ่งขั้น
ตอนนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมายที่จะกล่าวถึงในกลุ่มวิชาที่ 4
2.1.4. แนวทางการจัดท า RIA ของ OECD และต่างประเทศ
ในหัวข้อนี้ เป็นการอธิบายแนวทางการจัดท า RIA ของ OECD ซึ่งเป็นต้นแบบของประเทศ
ต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย ตลอดจนอธิบายทางการจัดท า RIA ของประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่
ก าลังพัฒนาตามล าดับ
2.1.4.1 แนวทางของ OECD
56
จากคู่มือการจัดท า RIA ของ OECD แนวทางการจัดท า RIA มีรากฐานมาจากความเข้าใจ
เกี่ยวกับสวัสดิการสาธารณะ (Social Welfare) โดยการออกกฎนั้นจะสามารถกระท าได้หากเป็นการเพิ่ม
ประโยชน์สาธารณะของทุกคนในสังคมแทนที่จะเป็นการเพิ่มประโยชน์ให้กับคนเพียงบางกลุ่ม ดังนั้นแล้วการ
ออกกฎจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าการออกกฎนั้นจะให้ประโยชน์กับสังคมมากกว่าสร้างต้นทุนให้
ประชาชนหรือไม่ แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดการจัดท าการวิเคราะห์ต้นทุน (Cost-Benefit
Analysis) โดย OECD มองว่าแนวคิดการวิเคราะห์ต้นทุนนั้นไม่จ าเป็นต้องหมายรวมถึงเทคนิคทาง
เศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์ต้นทุน แต่เป็นเพียงแนวคิดที่ว่าการออกกฎใด ๆ จะกระท าได้หากประโยชน์ต่อ
สังคมมากกว่าต้นทุนเท่านั้น หากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าสาธารณะประโยชน์จะเพิ่มขึ้นจากการออกกฎ ผู้ออก
กฎควรงดเว้นจากการออกกฎนั้น ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎโดยไม่ค านึงถึงหลักการวิเคราะห์ต้นทุนอาจเกิด
ความเสี่ยงว่ากฎที่ออกไปแล้วสร้างต้นทุนให้กับสังคมซึ่งในบางครั้งต้นทุนดังกล่าวไม่ใช่ต้นทุนที่ปรากฎออกมา
ชัดเจน อาจเป็นต้นทุนเพียงเล็กน้อยที่ทุกคนในสังคมต้องแบกรับแต่หากรวมกันแล้วก็จะกลายเป็นต้นทุน
จ านวนมหาศาล การค านึงถึงต้นทุนและผลประโยชน์ของกฎอยู่ตลอดจึงเป็นการป้องกันสังคมจากความเสี่ยง
ในการแบกรับต้นทุนในการด าเนินชีวิตด้วย นอกจาก OECD จะส่งเสริมแนวคิดวิเคราะห์ต้นทุนแล้ว
ยังสนับสนุนการใช้เทคนิควิเคราะห์ต้นทุนเป็นเครื่องมือในการค านวณหาประโยชน์และต้นทุน รวมไปถึง
คัดเลือกนโยบายที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาในสังคมอีกด้วย โดย OECD มองว่า เทคนิควิเคราะห์ต้นทุนเป็น
“best practice” หรือแนวทางตัวอย่างในการจัดท า RIA เนื่องจากเทคนิคนี้จะช่วยให้ผู้ออกกฎมีหลักฐานเชิง
ประจักษ์และรอบด้านถึงต้นทุนและประโยชน์ในการออกกฎใด ๆ
OECD ระบุว่าขั้นตอนในการจัดท า RIA นั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองขั้นใหญ่ นั้นคือ ขึ้น
ประเมินความจ าเป็นในการออกกฎหมายและขั้นประเมินความคุ้มค่าของกฎหมายเมื่อได้เปรียบเทียบ
ผลกระทบของกฎหมายกับนโยบายทางเลือกอื่น ๆ เพื่อน าไปสู่การตัดสินใจว่าทางเลือกใดจะมีประสิทธิภาพ
สูงสุด โดย OECD มีข้อเสนอในการวางแผนการจัดท า RIA เป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ก าหนดความหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย โดยการก าหนดความหมายและ
วัตถุประสงค์ ควรมีการศึกษาถึงปัญหาและสภาพแวดล้อมของปัญหาอย่างถี่ถ้วน ก่อนจะมีการก าหนด
56
OECD, “Introductory Handbook for Undertaking Regulatory Impact Analysis (RIA),” OECD, (2008)
accessed 11 September 2020, from https://www.oecd.org/gov/regulatory-policy/44789472.pdf.